การศึกษาวิเคราะห์เรื่องอริยปฏิปทาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระมหาคำสิงห์ กองเกิด บัณฑิตวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พระอริยเจ้า, อริยปฏิปทา, ไตรสิกขา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความหมาย ความเป็นมาและความสำคัญของอริยปฏิปทาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (2) เพื่อศึกษาหลักธรรมสำคัญที่ปรากฏในอริยปฏิปทา และ (3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการบำเพ็ญอริยปฏิปทาในคัมภีร์พระพุทธศาสนา งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร           

            ผลการวิจัย พบว่า

  1. อริยปฏิปทา ได้แก่ หลักการปฏิบัติของพระอริยเจ้า มีที่มาจากพุทธดำรัสยกย่องปฏิปทาที่ดีของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มี 9 ประการ คือ 1) อริยวังสปฏิปทา 2) รถวินีตปฏิปทา 3) มหาโคสิงคปฏิปทา 4) มหาสุญญตาปฏิปทา 5) อนังคณปฏิปทา 6) ธัมมทายาทปฏิปทา 7) โมเนยยปฏิปทา 8) ตุวฏกปฏิปทา และ 9) จันทูปมปฏิปทา อริยปฏิปทามีความสำคัญเพราะเกิดจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เป็นหลักการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานชีวิตของพระอริยเจ้าทั้งปวง ผู้ซึ่งจะเป็นบุญเขตของอุบาสก-อุบาสิกา
  2. หลักธรรมสำคัญที่ปรากฏในอริยปฏิปทา 9 ประการ เรียงตามลำดับดังต่อไปนี้ 1) สันโดษด้วยปัจจัย 4 2) วิสุทธิ 7 3) สัมมัปปธาน 4 4) สุญญตาผลสมาบัติ 5) ละราคะโทสะและโมหะ 6) ศึกษาพุทธพจน์และสันโดษด้วยปัจจัย 4 7) ฝึกตนเพื่อเป็นอเสขมุนี 8) พัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา และ 9) ไม่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และสันโดษในปัจจัย 4
  3. แนวทางการบำเพ็ญอริยปฏิปทา มีดังต่อไปนี้ 1) ผู้บำเพ็ญอริยวังสปฏิปทาจะบริโภคปัจจัย 4 ด้วยความสันโดษ 2) ผู้บำเพ็ญรถวินีตปฏิปทาจะปฏิบัติเพื่อความบริสุทธิ์จากกิเลส 3) ผู้บำเพ็ญมหาโคสิงคปฏิปทาจะทำความเพียรเพื่อป้องกันและละกิเลส 4) ผู้บำเพ็ญมหาสุญญตาปฏิปทาจะไม่คลุกคลีอยู่กับหมู่คณะและอยู่ด้วยความว่าง 5) ผู้บำเพ็ญอนังคณปฏิปทาจะหมั่นทำความเพียรจนกว่าจะละกิเลส 6) ผู้บำเพ็ญธัมมทายาทปฏิปทาจะเพียรศึกษาพระธรรมวินัยและเลี้ยงชีพด้วยความสันโดษ 7) ผู้บำเพ็ญโมเนยยปฏิปทาจะฝึกตนเพื่อเป็นผู้รู้แจ้งโลกและชีวิต 8) ผู้บำเพ็ญตุวฏกปฏิปทาจะพัฒนาตนทั้งด้านกาย จิต และปัญญา และ 9) ผู้บำเพ็ญจันทูปมปฏิปทาจะไม่คลุกคลีกับคฤหัสถ์และดำรงชีพอย่างเรียบง่าย ผู้บำเพ็ญอริยปฏิปทาได้ชื่อว่าพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระโมคคัลลานเถระ. (2547). คัมภีร์อภิธานวรรณนา. แปลและเรียบเรียงโดย พระมหาสมปอง มุทิโต. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ประยูรพริ้นท์ติ้ง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระไตรปิฎกอรรถกถา ฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2546). ทางดำเนินของมุนี (โมไนยปฏิปทา). กรุงเทพฯ: เรือนธรรม.

วิไลพร อุ่นเจ้าบ้าน, พระปลัดสมชาย ปโยโค, พระมหาทวี มหาปญฺโญ และ จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2562). การเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนด้วยอปัณณกปฏิปทา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(1), 57-69.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 40). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 33). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม). (2554). อริยวังสปฏิปทา ปฏิปทาอันเป็นวงศ์แห่งพระอริยเจ้า.กรุงเทพฯ: ประยูรสาส์นไทย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-09-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย