การสร้างค่านิยมสุจริตของวัดและชุมชนจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัครสิริ แอนิหน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาชินภัทร ฉินฺนาลโย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูปลัดสุรวุฒิ สิริวฑฺฒโก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ณรงค์ธรรม บัวทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อุทัย ภูบังดาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การสร้างค่านิยม, ความซื่อสัตย์, จริยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการสร้างค่านิยมสุจริตของวัดและชุมชน จังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างค่านิยมสุจริตของวัดและชุมชน จังหวัดเพชรบุรี และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคการสร้างค่านิยมสุจริตของวัดและชุมชน จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

                 ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการสร้างค่านิยมสุจริตของวัดและชุมชน พบว่า ส่งเสริมให้เยาวชนไทยปฏิบัติตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ เคารพสิทธิของผู้อื่นและรักษาสิทธิของตน ตระหนักถึงความรับผิดชอบ รวมถึงส่งเสริมคุณธรรมและหลักธรรม ส่งเสริมให้รักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย มีชีวิตที่พอเพียง สามรถลดละเลิกอบายมุขทั้งหลายได้

  1. 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างค่านิยมสุจริตของวัดและชุมชน พบว่า ใช้ “คุณธรรมนำการพัฒนา” ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะ ดังนี้ คุณธรรมที่เป็นปัจจัยผลักดันที่ทำให้เกิดความเพียร คุณธรรมที่เป็นปัจจัยสร้างแรงผลักดันให้เกิดคุณธรรม คุณธรรมที่เป็นปัจจัยเหนี่ยวรั้งไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง คุณธรรมที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เข้าไปมีส่วนร่วมทำกิจกรรมสุดท้ายคือการพัฒนาทางด้านจิตใจ
  2. 3. ปัญหาและอุปสรรคการสร้างค่านิยมสุจริตของวัดและชุมชน พบว่า สังคมแปรเปลี่ยนไปในทางวัตถุนิยมมากขึ้น คนไทยจึงเป็นสังคมที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ส่งผลให้เกิดความเสื่อมถอยด้านคุณธรรมจริยธรรมตามมา เป็นปัญหาทางสังคม ทั้งปัญหาความยากจน ปัญหาครอบครัว ความแตกแยกทางความคิด ปัญหาการเมือง ปัญหาด้าน เศรษฐกิจ อาชญากรรม

References

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์ . (2555). การศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กล้านรงค์ จันทิก. (2557). การสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์ สุจริต แก่เด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

จันทนา อุดม, นงนุช ไพบูลย์รัตนานนท์, ไพโรจน์ บุตรชีวัน, หะริน สัจเดย์ และ พระครูกาญจนกิจโสภณ. (2563). การเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 81-90.

น้อย พวงไม้. (2560). สัมภาษณ์. 5 พฤศจิกายน.

พระครูจิรพัฒนาทร. (2560). สัมภาษณ์. 5 พฤศจิกายน.

พระครูวินัยธรสมโภชน์. (2560). สัมภาษณ์. 19 พฤศจิกายน.

พระครูสุนทรวัชรการ. (2560). สัมภาษณ์. 1 พฤศจิกายน .

พระครูโสภิตกิตติคุณ. (2560). สัมภาษณ์. 19 พฤศจิกายน.

เพ็ชรี รูปะวิเชตร์. (2547). การสร้างคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษา เอกสารรวบรวมบทความทางวิชาการ บทความพิเศษ และบทความงานวิจัยของอาจารย์ ดร.เพ็ชรี รูปะวิชตร์. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มยุรี วรรณสกุลเจริญ และ ชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 193-204.

ยุพยงค์ วิงวร และ สุธี อังศุชัยกิจ. (2563). การรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดจากการล่อซื้อและการล่อให้กระทำความผิดเชิงเปรียบเทียบ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 235-246.

รัชดา เกตุแก้ว. (2560). สัมภาษณ์. 5 พฤศจิกายน.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2530). การปลูกฝังและเสริมสร้างค่านิยม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สุริยศักดิ์ มังกรแก้ววิกุล และ ศิริวัฒน์ สิริวัฒนกุล. (2563). ปัญหาการนำนโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศิลปการจัดการ, 4(2), 205-222.

เสน่ห์ ธรรมแท้. (2560). สัมภาษณ์. 5 พฤศจิกายน.

ไอยรา เย็นตั้ง. (2560). สัมภาษณ์. 1 พฤศจิกายน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย