การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, ครูผู้สอน, การบริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จำนวน 364 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีประสบการณ์ในด้านบริหารสถานศึกษา ไม่ต่ำกว่า 5 ปีขึ้นไป จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามแบบมาตราวัดประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 พบว่า (1)ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพื่อระดมความคิดที่จำเป็นในการพัฒนาองค์กร (2)ด้านการปฏิบัติ ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดจุดประสงค์ เป้าหมาย นโยบาย จัดทำและ พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (3)ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้ครูมีส่วนร่วมในผลประโยชน์จากกิจกรรมโครงการต่าง ๆไปพัฒนาครูและบุคลากรในการจัดการเรียนการสอน และ(4)ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมิน ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้ครูมีการกำหนดขอบข่ายการประเมินผลการบริหารจัดการของสถานศึกษา เป็นแบบชัดเจน โปร่งใส
References
คุณาภรณ์ ชัยวีรกุล. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองขลุง จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชุติพนธ์ นามวงค์. (2556). แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนวชิรวิทย์ ฝ่ายประถมศึกษา อำเภอเมืองเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประเดิม แพทย์รังษี. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : ศึกษากรณี เทศบาลตำบลท่าหลวง อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ปัณณทัต บนขุนทด (2562). ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชน ตำบลอิสาณ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1),1 6
พงษ์ปกรณ์ สิงหเขตวิทยบุญ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคัดแยกขยะพลาสติกออกจากขยะชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านเพ จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พรรณี มนพัทธ์ปริพัตร. (2560). ปัจจัยการบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ (2561). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2550). การเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
เมตต์ เมตต์การุณจิต.(2547). การบริหารการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชนองค์กร การปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คพ๊อยท์.
รัชดาภรณ์ ประถมวงษ์ . (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานของเทศบาลตำบลน้ำเชี่ยว อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
รุจาพร ไชยพงษ์. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ทะเลในชุมชนชายฝั่งทะเล ตำบลเกาะเปริด อำเภอแหลมสิงห์จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
เลอลักษณ์ โอภาสสถาวร (2549). การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุชิน รุดดิษฐ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินนโยบายการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure For Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press.