ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติของราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ทวี รักสกุล มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ, หลักธรรมาภิบาล, การปฏิบัติของราชการส่วนภูมิภาค

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนำหลักธรรมา
ภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติของราชการส่วนภูมิภาค 2.เพื่อศึกษาระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปฏิบัติของราชการส่วนภูมิภาคและศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติของราชการส่วนภูมิภาค 3.เพื่อทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติของราชการส่วนภูมิภาค การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 320 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือบุคคลากรในสังกัดราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 19 อำเภอ โดยเจาะจงเลือกมาเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ คือ แบบสอบถาม เครื่องมือในการวิจัยเชิงคุณภาพ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา IOC  อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และความเชื่อมั่น ด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาคเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน หา Pearson’s product – moment correlation Coefficient และ Multiple linear regression

    ผลการศึกษาพบว่า 1. ประสิทธิผลของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้พบว่า  ด้านหลักนิติธรรม ด้านหลักคุณธรรม ด้านหลักความโปร่งใส ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านหลักความพร้อมรับผิด และด้านหลักความคุ้มค่า มีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด 2. ระดับการปฏิบัติพบว่า ด้านผู้บริหาร มีความสำเร็จระดับมากที่สุด ด้านผู้ปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการทำงานด้านติดตามและประมวลผล ด้านการถ่ายทอดตัวชี้วัดและการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ มีความสำเร็จระดับมาก 3. ผลการศึกษาความสำเร็จประสิทธิภาพและประสิทธิผล พบว่า ด้านประสิทธิภาพ มีระดับความสำเร็จในระดับมาก และด้านประสิทธิผล พบมีระดับความสำเร็จในระดับมากที่สุด 4. การนำหลักธรรมาภิบาลมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value < 0.01 (r=0.796) 5. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปฏิบัติของราชการส่วนภูมิภาคมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับp-value < 0.01 (r=0.850) 6. ผลการวิเคราะห์เชิงถดถอยพหุคูณการนำหลักธรรมาภิบาล และปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปฏิบัติของราชการส่วนภูมิภาค

คำสำคัญ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ/ หลักธรรมาภิบาล/ การปฏิบัติของราชการส่วนภูมิภาค

References

กนกวรรณ คล้ายเพ็ง และคณะ. (2562). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการ ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 1(1), 19-30.

กิติ ตยัคคานนท์. (2543). เทคนิคการสร้างภาวะผู้นำ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: แปลงอักษร.

คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการพัฒนาราชการบริหารส่วนภูมิภาคเพื่อบริการประชาชน. (2547). แนวทางการ พัฒนาระบบบริหารราชการส่วนภูมิภาค. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

ชมัยภรณ์ ถนอมศรีเดชชัย, จิตร วิชัยสาร, กัญญาณัฐ เฮ็งบ้านแพ้ว. (2558). ศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(4), 57-65.

ชุติมา มูลดับและคณะ. (2561). [ออนไลน์]. (2562, 20 มิถุนายน). การบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล.สืบค้นได้จาก https://www.sites.google.com/site/goodgovernaneinternalaudit/khna-phu-cad-tha.

ดาวริกา อักษรถึง. (2557) ศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างระดับปัจจัยความสำเร็จกับระดับความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา:เทศบาลนครหาดใหญ่.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 9(2). 3-13

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2548). วัดระดับการบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี. นนทบุรี : มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

นารีรัตน์ จำจด. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ ศึกษาเฉพาะกรณีศึกษากรมการพัฒนาชุมชนในสังกัดส่วนกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เนาวรัตน์ พุ่มจันทร์. (2550). ความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปใช้ในการบริหารงานเทศบาล: กรณีศึกษาเทศบาลจังหวัดภูเก็ต. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญเพ็ง จันทร์งาม. (2561). ศึกษาการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารของผู้บริหารที่ส่งผล ต่อประสิทธิผลของเทศบาลตำบลลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 4(2), 173-180.

พระมหาจรูญศักดิ์ ชูยงค์. (2557). การนำหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติในการบริหารจัดการของเทศบาล ตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พสกร ทวีทรัพย์. (2561). การศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการบูรณาการการจัดการศึกษาในจังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบูรณ์.

พิมพา จอนสำโรง. (2559). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้ปฏิบัติงาน ด้านการคลังในวิทยาลัยชุมชน. (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2560). แผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สุราษฎร์ธานี : สำนักงานจังหวัดสุราษฎร์ธานี.

สุกัญญา จัตตุพรพงษ์. (2562). ศึกษาการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติในการบริหารงานของ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 10(1), 17-30.

Boston, J. et.al. (1996). Public Management: The New Zealand Model. Auckland: Oxford University Press.

Chruden, H.J. and Sherman, A.W. (1980). Personal Management: The Utilization of Human Resource. (6th ed.). Cincinnati: South Western Publishing.

Daft, L. Richard. (2001). The Leadership Experience. Orlando: Harcourt College.

Denhardt, Janet V. and Denhardt, Robert. B. (2007). The New Public Services (Expanded Edition): Serving not Steering. New York: M.E. Sharpe.

Frederickson, G. H. (1971). Toward a New Public Administration. New York: Harper Collins Publishers.

Huang, L. S., and Lai, C. P. (2014). Critical success factors for knowledge management implementation in life insurance enterprises. (Master’s thesis) Ming Dao University, China.

Katz, D. (1960). The Functional Appoach to Study of Attitude. New York: John Wiley and Sons.

Kraft, M. E. and Furlong, S. R. (2004). Public Policy: Politics Analysis and Alternatives. Washington DC: CQ Press.

Saretsalo, M. (2015). Factors influencing organizational knowledge management. Bachelor’s Thesis, Turku University Of Applied Sciences, Finland.

Shafritz, J. M. and Ott, J.S., (2001). Classics of Organization Theory (5th ed.). Belmont: Wadsworth/Thomson Learning.

Weber, M. (1947). The Theory of Social and Economic Organization. New York: Free Press.

Wilson, W. (1887). The study of public administration. Political Science. Quarterly, 1(2), 197-222.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-06-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย