การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นระดับชุมชน: กรณีศึกษาพื้นที่เทศบาล ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วินิจ ผาเจริญ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สถาพร แสงสุโพธิ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • ธรรมพร ตันตรา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สุชาดา สายทิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • เกรียงไกร เจริญผล มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของประชาชน,, การพัฒนาท้องถิ่น, ระดับชุมชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน 2) ปัจจัยต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน 3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชน 4) ข้อเสนอแนะ กลุ่มประชากรที่ศึกษา คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในเขตพื้นที่เทศบาลตำบล จำนวน 5,549 คน โดยสุ่มแบบบังเอิญ ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

          ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นระดับชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาปัจจัยต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนพบว่า จิตสำนึกและรักท้องถิ่น ผลประโยชน์จากการเข้าร่วมการพัฒนาท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก ส่วนการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์  ความผูกพันกับผู้นำท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลาง ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมโดยตรง เช่น การจัดเวทีประชาคมเพื่อให้ประชาชนได้เสนอปัญหาความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ว่ามีปัญหาอะไร ต้องการให้พัฒนาในส่วนไหน และเป็นเวทีที่ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ดังนั้น ควรส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ จัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นและกระตุ้นให้ประชาชนหันมาให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมมากขึ้น

Author Biography

วินิจ ผาเจริญ, วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

0932419191

References

กรมการปกครอง. (2543). ข้อมูลสภาตำบลประจำปี 2543. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย

จิราวัลย์ วรวงค์. (2550). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: เอ.พี กราฟิก ดีไซน์และการพิมพ์.

ธนาศิลป์ เสี้ยวทอง. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องที่ระดับหมู่บ้าน: กรณีศึกษา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปวีณา วีรยางกูร .(2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด อำเภอปากเกร็ดจังหวัดนนทบุรี (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พลกฤต แสงอาวุธ. (2563). ความร่วมมือในการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 3(1), 1-9.

พัฒนา พิทาคำ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาเทศบาลตำบลแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย, 6(2), 151-162.

ภาสิรี สังข์แก้ว. (2552). การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการสร้างความสุขของชุมชน. วารสารการพัฒนาท้องถิ่น, 4(1), 68-81.

ฤดี แสงเดือนฉาย และ เรียงดาว ทวะชาลี. (2562). แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการโครงการหมู่บ้านชาวพุทธต้นแบบอย่างยั่งยืน. วารสารศิลปการจัดการ, 3(2), 91-104.

สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (วิทยานิพนธ์ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัครินทร์ อังกูรวงศ์วัฒนา. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนบ้านบางเบา อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น, 3(2), 53-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย