เครือข่ายกระบวนการอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำท่าจีนของชุมชนดอนหวาย อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ดาราณี โฉมเผือก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เครือข่าย, กระบวนการอนุรักษ์น้ำ, ชุมชนดอนหวาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเครือข่ายกระบวนการอนุรักษ์ลุ่มแม่น้ำท่าจีนของชุมชนดอนหวาย ศึกษามาตรการที่ใช้ในการอนุรักษ์เกิดจากการร่วมกันบูรณาการแหล่งน้ำท่าจีน และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะการอนุรักษ์น้ำลุ่มแม่น้ำท่าจีนของชุมชนอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผลการวิจัยพบว่า

1) เครือข่ายกระบวนการดำเนินการอนุรักษ์น้ำ จะเป็นลักษณะของการให้ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม การเข้าร่วมกิจกรรมอนุรักษ์น้ำที่ชุมชนลุ่มน้ำท่าจีน เทศบาลเป็นผู้ดำเนินการ โดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนบริเวณริมแม่น้ำท่าจีนอย่างดี แบบพหุภาคี มีการจัดกิจกรรม ให้หน่วยงานภาครัฐ แกนนำชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีนนครปฐม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนโรงงานอุตสาหกรรม ผู้นำชุมชน คณะสงฆ์ นักเรียน และประชาชนเข้าร่วมรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน สร้างความตระหนักและครือข่ายร่วมกลุ่มกันอนุรักษ์โดยการสร้างจิตสำนึกการเสริมสร้างความรู้ สร้างจิตสำนึก รัก หวงแหนแม่น้ำท่าจีน และทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ในระดับโรงเรียน และสร้างศูนย์การเรียนรู้ท่าจีนศึกษา เพื่อเผยแพร่ข้อมูล และการดำเนินงานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ของเครือข่ายท่าจีน แก่บุคคลทั่วไป รวมถึงเครือข่าย/องค์กรอื่นๆ ด้วย

  1. มาตรการด้านกฎหมาย ใช้ข้อบังคับท้องถิ่นหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดและประกาศขอบเขตการใช้ที่ดินบริเวณโดยรอบแหล่งน้ำท่าจีน เช่น การใช้ประโยชน์แหล่งน้ำ และการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบแหล่งน้ำ จัดระเบียบของชุมชน
  2. ปัญหาอุปสรรค ปัญหาภาครัฐ คือ การขาดงบประมาณที่ใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมรักษาแม่น้ำท่าจีน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขาดการเสนอโครงการ หรือแนวทางการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน ให้ที่ประชุมของชุมชน หรือแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐทราบเพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีนและปัญหาของชุมชน คือคนในชุมชนบางกลุ่มขาดจิตสำนึกเรื่องการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้านน้ำ

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม. “ทรัพยากรน้ำ”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2562, จาก https://web.ku.ac.th/schoolnet.
กาญจนา แก้วเทพ. (2538) เครื่องมือการทำงานแนววัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สภาคาทอลิกแห่งประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
เกษม จันทร์แก้ว. (2539) หลักการจัดการลุ่มน้ำ. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาอนุรักษ์วิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ขนิฏฐา กาญจนรังสีนนท์. (2542) “การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยองค์กรเครือข่าย”. วารสารพัฒนาชุมชน, ปีที่ 38 ฉบับที่ 9 กันยายน 2542.
เจตน์ เจริญโท. แม่น้ำท่าจีนกำลังจะตาย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2562, จาก http://www.thaipoet.net/index.
นันทิยา หุตานุวัตร. (2546). การพัฒนาองค์กรชุมชน, อุบลราชธานี: คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2548) เครือข่าย : ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : พิสิษฐ์ไทย ออฟเซต.
สถานการณ์น้ำจืดของโลกและประเทศไทย World Wide fune for Nature (formerly World Wildlife Fund), สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2562, จาก WWF-Thailand Annual Report 2015.
สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 5 ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2548). 9 สู่ทศวรรษยุทธศาสตร์การบริหารจัดการลุ่มแม่น้ำท่าจีน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
สุภาวิณี ทรงพรวาณิชย์. (2545). การพัฒนาเครือข่ายชุมชนตำบลท่ากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. รายงานการวิจัย, ลำพูน: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยสำนักงานภาค.
อเนก นาคะบตรุ. (2543) รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องเครือข่ายของการเรียนรู้ : พื้นฐาน สำหรับการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน, (อัดสำเนา, ม.ป.พ.)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย