ศึกษาวิเคราะห์ตบะในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี

ผู้แต่ง

  • พระมหาเกริกสัน ญาณสมฺปนฺโน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดสมชาย ปโยโค มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ตบะ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องตบะคัมภีร์พระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาตบะในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี และ 3) เพื่อวิเคราะห์ตบะในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา หนังสือ และเอกสารผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลในลักษณะพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ตบะ เป็นหลักปฏิบัติที่พุทธศาสนิกจะต้องฝึกหัดพัฒนาตนมิให้ความชั่วทั้งหลายมาครอบงำจิตใจ คือการฝืนความต้องการของกิเสล ความชั่วร้ายต่างๆ ที่เผาจิตใจเรามาแสนนาน โดยการอดทนอดกลั้นต่อกิเลสที่มากระทบทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ และฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง มีการรักษาศีล การสำรวมอินทรีย์ และปฏิบัติตามหลักหลักศีล สมาธิ และปัญญาตามลำดับ เพื่อให้เกิดการรู้จริงเห็นแจ้งในมรรค

2) คำสอนเรื่องตบะ ในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี มีที่มาอยู่ ๒ ส่วน คือ ๑) ตบะในฐานะเป็นมงคล และ ๒) ตบะในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี โดยทั้งสองส่วนนี้มุ่งเน้นไปที่การสำรวมอินทรีย์ (อินทรียสังวร) และการสร้างความเพียร (วิริยะ) เมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้วจะมีผลทั้งในระดับโลกียะและโลกุตตระอันเป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา

3) จากการวิเคราะห์ ตบะในคัมภีร์มังคลัตถทีปนี สามารถนำมาเป็นแนวทางพัฒนาชีวิตได้ทั้ง 2 ฝ่าย คือ 1) ฝ่ายบรรพชิต ได้แก่ (1) การพัฒนาชีวิตส่วนตน (๒) การพัฒนาระหว่างอุปัชฌาย์-อาจารย์กับศิษย์ (๓) การพัฒนาการศึกษา และ (๔) เผยแผ่และปฏิบัติธรรม และ 2) ฝ่ายคฤหัสถ์ ได้แก่ (1) การพัฒนาชีวิตส่วนตน (2) การพัฒนาครอบครัว (3) การพัฒนาการทำงาน และ (4) การพัฒนาสังคม โดยเป้าหมายการพัฒนาชีวิตด้วยตบะ ก็เพื่อเป้าหมายในปัจจุบัน (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) ในเบื้องหน้า (ส้มปรายิกัตถะ) และเป้าหมายสูงสุด (ปรมัตถะ)

References

พระธรรมปิฎก (ป .อ. ปยุตฺโต). (2541). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระสิริมังคลเถระ. (แต่ง). (2554). มังคลัตถทีปนี ภาษาไทย ภาค 1-2 ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2560). พระไตรปิฎกอรรถกถา ฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2539). สารานุกรมพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
แสง จันทร์งาม. (2534). ศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย