การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม

ผู้แต่ง

  • พระมหาจักรพันธ์ จกฺกวโร 055 896 083
  • พระอธิการเฉลย ฉนฺทโก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบ, สังคม ,ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การสร้างความรับผิดขอบที่ดีมีประสิทธิภาพ ควรตั้งอยู่ในหลักของความถูกต้อง โดยมีองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความหมาย แนวคิด รวมไปถึงหลักใหญ่ๆ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากได้รับการสนับสนุนหรือนำไปปฏิบัติก็ตจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอย่างมหาศาล ความรับผิดชอบจึงเป็นสิ่งสำคัญของสังคมไทยในเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤติปัญหา สังคมมักเรียกร้องถึงความรับผิดชอบ เช่นกรณีเกิดโรคระบาด โควิด 19 หน้ากากอนามัย สังคมเกิดการเรียกร้องถึงความรับผิดชอบของ รัฐบาล รัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราทุกคนในสังคมต้องแสดงออกถึงความรับผิดชอบ อย่ามัวไปโทษคนอื่น สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม ณ ขณะนี้ มันเป็นความรับผิดชอบร่วมกันที่จะต้องแก้ไขปัญหาและวางแนวทางในการป้องกัน ถึงจะถูก อย่างไรก็ตาม หาเรานำความรู้ที่ได้จากการอ่านบทความนี้ เราทุกคนก็จะเห็นถึงแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วย การสร้างภูมิคุ้มกัน การแสดงออกอย่างมีเหตุมีผล การเรียนรู้ และคุณธรรม จะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นอยู่อย่างสันติสงบสุข

References

คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง หอการค้าไทย. (2552). คู่มือธุรกิจ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: หอการค้าไทย.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง: ความพอเพียงมวลรวม ในประเทศ. กรุงเทพมหานคร: G.P. Cyberprint.

ธนกฤต วงศ์มหาเศรษฐ์. (2553). การศึกษาเรื่อง ความรับผิดชอบต่อสังคม ความไว้วางใจ ที่มีอิทธิพลต่อ ความจงรักภักดีของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทพลังงาน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1), 137-147.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2560). เศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่. เรียกใช้เมื่อ 20 ธันวาคม 2560 จากhttp22www.Chaipat.or.th

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.). (2554). การดำ เนินกิจกรรม CSR โดยการ ประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.

อาชว์ เตาลานนท์. (2551). Good Governance and Corporate Social Responsibility: Strategiesto Create Business and Social Values. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Vlachos, P. A., Tsamakos, A., Vrechopoulos, A. P., & Avramidis, P. K. (2009). Corporate Social Responsibility: Attributions, loyalty, and the Mediating Role of Trust. Journal of the Academy of Marketing Science, 37, 170-180

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ