การเสริมพลังเครือข่ายสุขภาวะเชิงพื้นที่ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเชิงพุทธบูรณาการ ป้องกันนักดื่มและนักสูบหน้าใหม่

ผู้แต่ง

  • อำนาจ ทาปิน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระอธิการเฉลย ฉนฺทโก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เครือข่ายสุขภาวะ, พุทธบูรณาการ, การป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่

บทคัดย่อ

องค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ในการออกแบบกิจกรรมเสริมพลังเครือข่ายสุขภาวะเชิงพื้นที่ ป้องกันนักดื่มและนักสูบหน้าใหม่ ประกอบด้วย พรหมวิหาร 4 กับภาวนา 4 พรหมวิหาร 4 มีความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้มีความสุข ประกอบด้วยจิตใจอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม คือ เมตตา มีความสงสาร คิดช่วยให้พ้นจากความทุกข์จากอกุศลธรรม ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนให้พ้นจากอกุศลธรรม เข้าสู่กุศลธรรม คือ กรุณา มีความยินดี ในเมื่อเห็นผู้อื่นอยู่อย่างมีความสุข มีจิตผ่องใสชื่นบาน ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นใจเบิกบานใจอยู่ ต่อผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข คือ มุทิตา มีความวางใจเป็นกลาง ตั้งอยู่ในธรรมที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญาตามสภาพเป็นจริง มีจิตเที่ยงตรงดุจตราชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยความรัก โลภ โกรธ หลง คือ อุเบกขา มุ่งเน้นพัฒนากาย ให้รู้จักรู้ผิดชอบชั่วดี กฎหมายข้อบังคับ สร้างระเบียบวินัยแก่ตนเองในการยังกุศลธรรมให้เจริญงอกงาม ห้ามอกุศลธรรมให้เกิดขึ้น คือ กายภาวนา มุ่งเน้นการเจริญศีล ประพฤติสุจริตทั้งกาย วาจา ใจ ไม่ประมาทมัวเมาในสิ่งที่ก่อให้เกิดโทษทั้งต่อตนเองและผู้อื่น คือ สีลภาวนา มุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจ ให้มีความเข้มแข็งมั่นคงเจริญงอกงามด้วยกุศลธรรมทั้งหลาย หักห้ามและข่มจิตใจจากอกุศลธรรม คือ จิตภาวนา มุ่งเน้นการเจริญปัญญา พัฒนาปัญญาให้รู้คุณ โทษ ประโยชน์ผล รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมตามสภาวะ ห่างไกลจากอุปกิเลสทั้งหลาย และสามารถใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ คือ ปัญญาภาวนา จากการสำรวจความคิดเห็นของเครือข่ายในการบูรณาการองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อออกแบบกิจกรรมเสริมพลังเครือข่ายสุขภาวะเชิงพื้นที่ ป้องกันนักดื่มและนักสูบหน้าใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับดี

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2543). การจัดการเครือข่าย : กลยุทธ์สำคัญสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซัคเซส.

ฉัตร์ชัย สิงโต. (2555). รูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างภาคประชาชนภาคท้องถิ่นและภาครัฐ ในพื้นที่ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัด ลำปาง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณิชาภัทร เลิศพรมาตุรี. (2554). การพัฒนาบทบาทการส่งเสริมสุขภาพให้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนและเจ้าหน้าที่เครือข่ายสุขภาพ เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. การส่งเสริมสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครือข่ายการทำงาน : ข้อควรพิจารณาบางประการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พนัส พฤกษ์สุนันท์. การสร้างพลังชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561.จาก https://www.gotoknow.org/posts/8288.

พระธรรมปิฏก. พรหมวิหาร 4 . สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/10287.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น ). (2547). เครือข่าย : ธรรมชาติ ความรู้และการจัดการ. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส).

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2558). รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมศักดิ์. Empowerment กับการเสริมพลังสร้างสุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561.จากhttps://www.doctor.or.th/article/detail/10287.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2548). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย