โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจใช้บริการออกแบบโลโก้ผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • Rattana Sae-lim มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

เฟซบุ๊ก, ออกแบบโลโก้, การตัดสินใจใช้บริการ, ความตั้งใจใช้บริการ, โมเดลสมการโครงสร้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการตัดสินใจใช้บริการออกแบบโลโก้ผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ที่เคยใช้บริการออกแบบโลโก้ผ่านเฟซบุ๊ก จำนวน 280 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และโมเดลสมการโครงสร้างใช้ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุเพื่อหาเส้นทางอิทธิพลเชิงสาเหตุของตัวแปรประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอัตลักษณ์ทางสังคม  2) ด้านการสื่อสารแบบปากต่อปากผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3) ด้านการรับรู้ความเสี่ยง 4) ด้านความไว้วางใจ 5) ด้านความตั้งใจใช้บริการ และ 6) ด้านการตัดสินใจใช้บริการ      

ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์เท่ากับ 0.83 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจใช้บริการออกแบบโลโก้ผ่านเฟซบุ๊กได้  ร้อยละ 83 พบว่า ด้านความตั้งใจใช้บริการมีอิทธิพลมากที่สุดต่อการตัดสินใจใช้บริการออกแบบโลโก้ผ่านเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ตาก: โพรเจ็คท์ไฟฟ์-โฟว์
ทวีพร พนานิรามัย. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าซุปเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ: หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. การค้นคว้าอิสระ
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนส อาร์แอนด์ดี.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภพพรหมินทร์ วโรตม์วัฒนา. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารแบบปากต่อปากในยุคดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน)
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
Good Factory Team. (2559). เทคโนโลยีมีบทบาทในการแก้ปัญหาสังคมอย่างไร จาก https://blog.goodfactory.co/เทคโนโลยีมีบทบาทในการแก้ปัญหาสังคมอย่างไร-9e0158412878
Mohammad Takhire1 and M.R. Taghizadeh Joorshari (Corresponding Author). (2015). Evaluation of effective factors on customer decision-making process in the online environment จาก
https://pdfs.semanticscholar.org/6273/ba661f7115cd63851adabb99c47d636270a6.pdf
Wynnsoftstudio. (2559). โลโก้ จำเป็นอย่างไร ทำไมต้องมีโลโก้. จาก http://www.wynnsoftstudio.com/โลโก้_จำเป็นอย่างไร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย