การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าชายเลนในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ธิติ พานวัน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การอนุรักษ์ป่าชายเลน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่ป่าชายเลนในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2)เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์และจัดการการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน 3)เพื่อจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนอย่างยั่งยืน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 40 คน ใช้การการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอแบบพรรณา

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.บริบทพื้นที่ป่าชายเลนในพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชและสัตว์น้ำ

            2.ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์และจัดการการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน เป็นภูมิปัญญาที่มีสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมกับระบบนิเวศป่าชายเลน มีการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรในป่าชายเลน เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ ชุมชนมีการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด มีการวางแผนการจับสัตว์น้ำที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจของชุมชนด้วยเครื่องมือประมงพื้นบ้าน เลือกจับเฉพาะสัตว์น้ำที่ได้ขนาดและไม่จับในฤดูวางไข่เพื่อให้สัตว์น้ำมีการสืบพันธุ์

            3.การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลน ชุมชนได้อนุรักษ์หอยแครงโดยการสร้างแหล่งเพาะพันธ์หอยแครงพันธ์พื้นเมือง มีการจัดพื้นที่เพาะพันธ์และอนุบาลต้นกล้าโกงกาง มีการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรคือนำมาผลิตเป็นชาใบขลู่ หลังจากชุมชนได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้พบว่าในพื้นที่มีจำนวนหอยแครงพันธ์พื้นเมืองเพิ่มมากขึ้น มีแหล่งเพาะพันธ์และอนุบาลต้นกล้าขยายพันธ์ต้นโกงกางเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนและมีผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร

References

Aroonbergfa, N. (2010). Mangrove Forest Resource Management: A Case Study of Baan Hnongsamarn Community, Tambon Hardsumran, Amphoe Hardsumran, Trang Province. Songklanakarin Journal of Social Science and Humanities, 6 (1), 23 - 50.

Chimcharoen, C. ( 2001). Factors Affecting Public Participation in the Conservation and Rehabilitation of the Mangrove, Khlong Don Subdistrict, Mueang District, Samut Songkhram Province. Master of Science (Resource Management).The Graduate School, Kasetsart University.

Department of Marine and Coastal Resources. (2017). Strategic Plan for Mangrove Management in Thailand. Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment.

Dumalee, H. and Suttijaree, J. (2013). New Social Movement in Managing Coastal Welt and Resources: A Case study of Pattani Bay Conservation Network. Journal of Politics and Governance. College of Politics and Governance. Mahasarakham University, 3 (1), 59 - 78.

Janchalam, J and Unaromlert, T. (2018).The Rehabilitation of Mangrove Areas for Sustainable Development: A Case Study of Best Practice Model Community at Baan Pred Nai in Trad Province. Silpakorn Educational Research Journal, 9 (2), 217-230.

Kaewkosaba, K and damrongsakmethee, T. (2014). Knowledge Management of Local Wisdom in Traditional fishing The Gulf of Bandon Surat Thani Province. Suratthani Rajabhat University.

Marine and Coastal Resources Administration Office. (2008). Research Project on Knowledge Base and Local Knowledge in Mangrove Forest Management. Complete Report. Department of Marine and Coastal Resources. Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment.

Marine and Coastal Resources Administration Office. (2018). Mangrove Forest in Suratthani Province. Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment.

Noklang, S. (2017). The Development of Local Wisdom Transfer About Community Mangrove Forest Through Community Participatory to Youth in Yong – Star Island Community, Trang. Institute of Cultural and Arts Journal. Srinakrarinwirot University, 18 (36), 115 -123.

Phasukyud, P. (2007). Knowledge Management (KM). Bangkok: Yaimai.

Suwannakan, W and Vaisamruat, K. (2018). Policy Development of Artisanal Fisheries in Songkla Province.Research And Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 10 (2), 59 -71.

Vongpiyachai, P.et al. (2019).Model of Governance in Mangrove Forest Resources Management. Inter Disciplinary Studies Journal. Faculty of Social Science and Humanities, Mahidol University, 19 (1), 30 -49.

Wongsopha, Y. (2009). Local Wisdom Resuscitation for Fish's Origin Conservation in Loei River: A Case Study of Ban Nadindam, Kangsriphum Sub-district, Phuluang district, Loei Province. Bangkok: The Thailand Research Fund.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย