การสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R

ผู้แต่ง

  • วรัญญู โพธิ์คีรี มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ, วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ของครูเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R ก่อนและหลังการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เพื่อศึกษาความสามารถของครูในการปฏิบัติการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังกาiจัดการเรียนรู้ และเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ที่กำหนด 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R กลุ่มตัวอย่าง 1) ครูภาษาไทย โรงเรียนศึกษานารี จำนวน 3 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศึกษานารี รวม 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบทดสอบวัดความรู้ครูเกี่ยวกับการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R 2) แบบสังเกตความสามารถของครูในการปฏิบัติการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูที่มีต่อการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ5R

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ของครูหลังสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสูงกว่าก่อนสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ความสามารถในการปฏิบัติการสอนของครูผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 3) ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณจากสื่อออนไลน์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้และมีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังการจัดการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 4) ความคิดเห็นของครูอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Ministry of Education (2008). Basic academic Curriculum B.E.2551. Bangkok: Agriculture
Cooperative Assembly of Thailand.
ธีระชัย รัตนรังสี. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้าง
ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Rattanarungsri, Th. (2017). The Development Of The Construction Model Of Professional
Learning Community To Enhance Thai-language Teacher' Learning Management
Capability To Develop The Creative Communication Skills Of High S0chool Students.
Thesis Doctor of Philosophy, Silpakorn University.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตาพับลิเคชั่น.
Phanit, W. (2012). Learning Method for students for 21st Century. Bangkok: Tathata
Publication.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิค.
Office of Educational Council. (2017). Synopsis of the National Scheme of Education of B.E.
2560-2579 (2017-2036). Bangkok: Prig wan Graphics.
สุภาวดี ปกครอง และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2561). การพัฒนาครูโดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อ
การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษา. สุทธิปริทัศน์ 32 (101), 51 -67.
Pokkrong & Julsuwan. (2018). The Teacher Development Through The Professional Learning Community Concept To Enhance The Literacy Of Primary Students. SUTHIPARITHAT. 32
(101), 51 -67.
เอมอร เนียมน้อย. (2551). พัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณด้วยวิธี SQ3R. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
Neamnoi, A. (2008). The Development Of Critical Reading By Using The SQ3R Method.
Bangkok: Suweeriyasana.
Walter Pauk. (2001). How to study in college. Boston: Houghton Mifflin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-03-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย