คุณลักษณะผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

ผู้แต่ง

  • สิริชัย โพธิ์ศรีทอง มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

คุณลักษณะผู้บริหารและประสิทธิผลของโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) คุณลักษณะผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 2) ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 103 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา รวม 309 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้บริหารตามแนวคิดของลูเนนเบอร์กและออนสไตน์ (Lunenburg and Ornstein) และประสิทธิผลของโรงเรียน ตามแนวคิดของ ฮอยและมิสเกล (Hoy and Miskel) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

              ผลการวิจัย พบว่า

 1. คุณลักษณะผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ความซื่อสัตย์ แรงขับ ความยืดหยุ่น ความมั่นคงทางอารมณ์ แรงจูงใจในการนำ ความเชื่อมั่นในตนเอง ความเฉลียวฉลาด และความรู้ในงาน

2. ประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3. คุณลักษณะผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 ในลักษณะคล้อยตามกัน

References

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 317/2559. (2559). บรรยาย "การผลิตครูเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้สู่อนาคตการศึกษาไทย". สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2560, เข้าถึงได้จาก http://www.moe.go.th/ websm/2016/jul/317.html.
Office of the minister newslines 317/2559. (2016). lecture “Teacher production for learning reform Towards the future of Thai education”. Accessed May 27, 2017. available from http://www.moe.go.th/websm/2016/jul/317.html.
นฤมล เจริญพรสกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม 2559).

Narumon Jaroenpornsagu. (2016). “Factors That Influence The Effectiveness Of Primary Schools Under The Office Of Private Education”. VRU Research and Development Journal. Humanities and Social Science. Volume11 Number3 (September – December 2016).
บวร เทศารินทร์. (2561). ผู้บริหารโรงเรียน 4.0 พลังขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม2561, เข้าถึงได้จาก http://sobkroo.com/hello-world/.
Taesarin, B. (2018). School Administrator 4.0 The Driving Force of Education Reform, Accessed January 30, 2018, available from http://sobkroo.com/hello-world/.
ปวีณ์รัศมิ์ชา เปิ้นวงศ์. (2558). คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหาร ครู แลผู้ปกครอง สังกัดเทศบาลจังหวัดสระบุรี. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการการนำเสนองานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15.
Peonwong, P. (2015). “Leadership’s characteristic of school directors after the viewpoints of directors teachers and parents within Saraburi municipality. National and International Conference Interdisciplinary Research for Local Development Sustainability Graduate Studies In Northern Rajabhat Universities No.15.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2559). คิดผลิตภาพ : สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Sinlarat, P. and others. (2016). Productive Learning: How to teach and create. Bangkok: Chulalongkorn University.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2560). โรงเรียน 4.0:โรงเรียนผลิตภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2.). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Sinlarat, P. and others. (2017). Schools 4.0: Productive Learning School. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
ลัดดาวัลย์ บุญเลิศ. (2559). การวางแผนกลยุทธ์กับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Boonlerd, L. (2011). Strategic Planning and Effectiveness of Schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 4. A thesis for the Degree Master of Education Program in Educational Administration. Graduate School, Silpakorn University.
ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ. (2561). ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ในยุคปฏิรูปการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่ 30มกราคม 2561, เข้าถึงได้จาก http://www.kruinter.com/show.php?id_quiz=107&p=1.
Phucharoen, S. (2018). Effective school administrators in the educational reform era. Accessed January 30, 2018, available from http://www.kruinter.com/ show.php?id_quiz=107&p=1.
สุชญา ศรีอริยะกุล. (2558). คุณลักษณะผู้นำกับคุณภาพชีวิตการทำงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Sri-ariyakul S. (2015) Leader Traits and Quality of Work Life of School Administrator under Ratchaburi Primary Educational Service Area Office 1. A thesis for the Degree Master of Education Program in Educational Administration. Graduate School. Silpakorn University.
อนุศรา โกงเหลง. (2556). คุณลักษณะของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Gongleng, A. (2013). Administrator’s Traits And Job Satisfaction Of Personnel In Demonstration Schools Under Office Of The Higher Commission Education In Bangkok. A thesis for the Degree Master of Education Program in Educational Administration. Graduate School, Silpakorn University.
Lunenburg, C. and Ornstein, C. (2012). Educational Administration: Concepts andpractices. (6th ed.). BelMont, CA : Wadsworth.
Best, W. (1970). Research in Education. New York : Prentice,Inc.
Cronbach, J. (1974). Essentials of Psychological Testing. (3nd ed.). New York : Harper and RowPublisher.
R.Likert, New Pattern of Management (New York : Mcgraw-Hill, 1961), 74.
Krejicie, V. and Morgan, W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Journal for Education and Psychological Measurement 3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย