แนวคิดเจตจำนงเสรีของฌอง ปอล ซาร์ตร์กับบุคคลในฐานะสามีและภรรยาในพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • แม่ชีธรรมอธิษฐาน พรบันดาลชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เจตจำนงเสรี, สถานะบุคคล, สามีและภรรยา, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1)เพื่อศึกษาแนวคิดเจตจำนงเสรี 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเจตจำนงเสรีกับบุคคลในฐานะสามีและภรรยาในพุทธปรัชญาเถรวาท บทความนี้ได้เขียนจากการทบทวนตำรา บทความ รายงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่า มนุษย์มีเสรีภาพต่อการเลือก ขณะเดียวกันเมื่อมนุษย์จำเป็นต้องเลือกในฐานะสามีภรรยา ซาร์ตร์มองว่าสามีภรรยาเป็นเพียงสัญลักษณ์ของความรักระหว่างคนสองคน โดยผู้ชายเป็นสามีของผู้หญิง และผู้หญิงเป็นภรรยาของผู้ชายเท่านั้น แต่ความสัมพันธ์เหล่านี้ไม่ได้ยืนยันความจริงทางธรรมชาติที่ว่าเรายังต้องเกิดและตายตามลำพัง สถานะเหล่านี้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้เจตจำนงเสรีที่จะเลือกทำหรือเลือกปฏิเสธบนฐานความรับผิดชอบต่อการเลือกของตนเอง แง่คิดดังกล่าวเป็นการใช้เจตจำนงเสรี ผ่านแนวคิดแบบปัจเจกบุคคล โดยซาร์ตร์ไม่ได้สนใจสถานะสามีภรรยา ปัจเจกบุคคลจึงสามารถใช้เสรีภาพได้อย่างไม่มีขอบเขต ขณะที่พุทธปรัชญาเถรวาทมองว่าสถานะบุคคลในฐานะสามีภรรยามีเสรีภาพต่อการเลือกทำบางอย่าง ตามหลักทิศ 6 แต่เสรีภาพนั้นเป็นการเลือกทำผ่านหน้าที่คือหน้าที่ที่สังคมกำหนด แม้เจตจำนงเสรีจะตั้งอยู่บนฐานแนวคิดแบบปัจเจกบุคคล แต่การเลือกนั้นก็จำเป็นต้องใส่ใจต่อความรับผิดชอบทางสังคม ซึ่งเป็นการกำหนดท่าทีในการเลือกนั้นด้วยว่าควรหรือไม่ควร

References

MahachulalongKornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

MahachulalongKornrajavidyalaya University. (2013). Thai Atthakatha. Bangkok: MCU Press.

Phramaha Pongsak Sirikutto, Boon Nilaket. (2015). A Comparative Study of the Concepts of Cetana in Theravada Buddhist Philosophy and Free Will of Jean–Paul Sartre. Journal of Buddhist Studies, 6(2), 65-74.

Panichsilk, B. (2019). Feminism of Simone de Beauvoir. https://themomentum.co/something-between-simone-de-beauvoir.

Pinit, R. (2006). Philosophy in Jean-Paul Sartre’s Life. 6th reprint. Bangkok: Samanchon..

The Royal Society. (2017). Dictionary of Philosophy in English-Thai. (5th ed.). Bangkok: The Office of the Royal Society.

Visatavat, V. (2010). Philosophy’s Vision: Buddhist Philosophy. Bangkok: Julalongkorn University Press.

Jean-Paul Sartre. (2003). Being and Nothingness: An Essay on Phenomenological Ontology. London: Routledge Classics.

John K. Roth. (1988). The questions of philosophy. California: Wadsworth.

Lawrence E. Cahoone. (1998). From-modernism-to-postmodernism an anthology. Oxford: Blackwell Publisher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2019

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ