การพัฒนาชุมชนตามแนวคิดทางสายกลางของขงจื้อ

ผู้แต่ง

  • วรากรณ์ พูลสวัสดิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • สรวิชญ์ วงษ์สอาด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ธงชัย ศรีเมือง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ภรสรัญ แก่นทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • ปิยนาถ อิ่มดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุมชน, ขงจื้อ, ทางสายกลาง

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด “การพัฒนาชุมชนตามแนวคิดทางสายกลางของขงจื๊อ” จากการศึกษาเอกสารพบว่า ฐานคิดของการพัฒนาชุมชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน มนุษย์ทุกคนมีคุณค่า มีศักยภาพ ในการพัฒนาชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข โดยมุ่งมั่นพัฒนาชุมชนให้เกิดการมีส่วนร่วม เกิดการรวมกลุ่ม เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนร่วมกัน ส่วนแนวคิดทางสายกลางนั้น ขงจื๊อเชื่อว่า ศักยภาพของมนุษย์มีความบริสุทธิ์และมีความเป็นกลางที่มีคุณลักษณะที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างธรรมชาติของจิต เพราะมนุษย์ต้องทำจิตให้บริสุทธิ์ในการดำเนินชีวิตเพื่อเป็นหลักปฏิบัติให้เข้าถึงทางสายกลาง ดังนั้นจึงต้องยึดมั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง 3 ประการ คือ ทางปัญญา (จื๊อ) ทางความรักหรือเจตนารมณ์ที่ดีงาม (เหริน) และทางพลังหรือความเข้มแข็ง (จง) จะเห็นว่าคุณธรรมทั้ง 3 และแนวคิดทางสายกลางของขงจื๊อนั้นสอดคล้องกับแนวคิดและหลักการพัฒนาชุมชน เรื่องทางสายกลางจะไม่ยึดมั่นในด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ไม่พัฒนาที่เน้นด้านวัตถุด้านเดียวจนละทิ้งการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ และด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนาชุมชนจะต้องทำให้เกิดความสมดุลระหว่าง การพัฒนาจิตใจควบคู่ กับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม พัฒนาพฤติกรรมของมนุษย์ โดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้มีปัญญาความรู้ ความรัก ความสามัคคี ความเสียสละและมีความมุ่งมั่นเข้มแข็งต่ออุดมการณ์ ในการพัฒนาตนเองชุมชนและสังคม สามารถดำรงอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล

 

References

Archie J. Bahm. (1969). The Heart of Confucius: InterPretation of Genuine Living and Great Wisdom. New York: Walker/ Weatherhill.
Jingpan, C. (1993). Confucius as a Teacher. Malaysia: Delta Publishing Sdn Bhd.
Confucius. (1951). The Great Digest. The Unwobbling Pivot. The Analects. Tr. By Ezra Pound. New York: A New Directions Book.
Panit, W. (2012). Ways to create learning for students in the 21st century. Bangkok: Sodsrisritwong Foundation.
Department of Community Development. (1984). Development of communities. Bangkok: Department of Community Development.
Fine Little stone. (1992). Translator. Build life and society according to the doctrine of Confucius. Bangkok: Grass flowers.
Fri, Archie J., The Bahn., The doctrine of Confucius. Dominate the plan Chai Thanasarn Translator. Bangkok: Delphi.
Leonard Shihlien Hsu. (1975). The Political Philosophy of Confucianism. New York: Barnes & Noble Books.
Phra Dhammapidok (P.A. Payutto). (1995). Buddhist Dharma revised and expanded. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Dhammapidok (P.A. Payutto). (2003). Sustainable development. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Wongthip, P. (2012). Applied Community Development: Concepts and Integration. Bangkok: Institutions to enhance learning community SERC.
Promta, S. (1997). Mahayana Buddhism, primary sect. Bangkok: Sutthakan Printing.
Polsri, S. (2002). Theory and principles of community development. Bangkok: Odeon Store.
Ekkapachaisawat, T. (2010). Community study. Bangkok: Chulalongkorn University.
Parinyasutthinan, U. (2018). Development of Communities. Bangkok: Chulalongkorn University.
Thongprasert, C. (1994). The Birth of Chinese Traditions Part 1-3. Bangkok: Royal Institute of Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย