พฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก

ผู้แต่ง

  • กฤติยา สุขสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้นำทางวิชาการ, ผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก 2) ศึกษาความแตกต่างของความคิดเห็นต่อพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของโรงเรียนเลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก จำนวน 60 คน ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร จำนวน 24 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 7 คน หัวหน้าฝ่าย จำนวน 8 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน และครู จำนวน 36 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการตามแนวคิดของฮอลลิงเจอร์ และเมอร์ฟี่ (Hallinger and Murphy) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

 1) พฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 10 ด้าน โดยเรียงตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ การประสานงานด้านการใช้หลักสูตร การกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน การส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ การดูแลเอาใจใส่ครูและนักเรียนอย่างใกล้ชิด การจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครู การนิเทศและการประเมินผลด้านการสอน การสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน การพัฒนาและสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ และการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน ตามลำดับ ส่วนรายด้านที่อยู่ในระดับมาก มีจำนวน 1 ด้าน คือ การควบคุมเวลาในการสอน 2) ความแตกต่างของความคิดเห็นต่อพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเลิศหล้าถนนกาญจนาภิเษก เมื่อจำแนกเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด ตำแหน่งหน้าที่หลักในโรงเรียน และประสบการณ์ในการทำงานในตำแหน่งปัจจุบันไม่แตกต่างกัน

References

ปิยะ ล้วนเส้ง. (2558). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการกองการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
พิชญาพรรณ พากเพียร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับพฤติกรรมการสอนของครูในสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 7(1), 146-158.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร: สหมิตรพรินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2552– 2559. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
G. Matthews. (2007). Handbook of research for educational communications and technology: a project of the association for education communications and technology. New York: Macmillan Library References, 2007
M. G., Rosemarie. (2005). Do principals make a difference an analysis of leadership behaviors of elementary principals in effective school?. Unpublished Master’s Thesis, State University of New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย