การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

ผู้แต่ง

  • วาสนา สีแดง มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, โรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 8

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ประชากร คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคมสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  
2. แนวทางต่อการส่งเสริมการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 ประกอบด้วย 5 แนวทาง ดังนี้ 1) ด้านหลักการกระจายอำนาจ เพราะว่าโรงเรียนเป็นหน่วยปฏิบัติการที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการศึกษา จึงควรมีอำนาจมีอิสระในการตัดสินใจดำเนินการ 2) ด้านหลักการมีส่วนร่วม ควรมีการส่งเสริมเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีส่วนร่วมในการบริหาร ตัดสินใจ และจัดการศึกษา 3) ด้านหลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษา จึงต้องมีการคืนอำนาจให้ท้องถิ่นและประชาชนเพื่อจัดการศึกษาด้วยตนเอง 4) ด้านหลักการบริหารตนเอง ควรส่งเสริมเรื่องระบบการศึกษาทั่วไป และ 5) ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล ควรส่งเสริมให้ส่วนกลางมีหน้าที่กำหนดนโยบายและควบคุมมาตรฐาน มีองค์กรอิสระทำหน้าที่ตรวจสอบการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นไปตามนโยบายของชาติ

References

กชธนณัฐ คำอินทร์. (2561). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
พิมพฤทธิ์ เที่ยงภักดิ์. (2560). ปัจจัยคัดสรรการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 42. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 7(ฉบับพิเศษ).
พิชิตศักดิ์ รากเงิน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 162-173.
ศุภธิดา ประทุมทอง. (2560). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครรังสิต. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
สุนันทา เจริญจิตรโสภณ, กัญภร เอี่ยมพญา และนิวัตต์ น้อยมณี. (2559). การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อ ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 10(2), 125-134.
สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา. (2544). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2546). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Fred C. Luneburg and Allan C. Ormstein. (2007). Educational Administration: Concepts and Practices. (5th ed.). CA: Wadsworth Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย