หลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
คำสำคัญ:
หลักการมอบหมายงาน, ผู้บริหารโรงเรียน, โรงเรียนมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1. องค์ประกอบหลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2. ความแตกต่างของหลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษาเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 3. ผลการยืนยันหลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1. แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง 2. แบบสอบถามความคิดเห็น 3. แบบสอบถามเพื่อยืนยัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 336 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน สถิติทดสอบค่าเอฟ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1). หลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ (1) หลักของการนิยามหน้าที่ (2) หลักของการคาดหวังความสำเร็จในการปฏิบัติ (3) หลักการใช้อำนาจและความรับผิดชอบ (4) หลักความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา (5) หลักของความรับผิดชอบของผู้มอบอำนาจ (6) หลักของสายบังคับบัญชา และ (7) หลักของข้อยกเว้น 2).ความแตกต่างหลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเมื่อ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำนวน 2 องค์ประกอบคือ หลักของเอกภาพในการบังคับบัญชา และหลักของข้อยกเว้น และ 3). ผลการยืนยันหลักการมอบหมายงานตามทัศนะของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นว่ามีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้และเป็นประโยชน์สอดคล้องกับกรอบแนวคิดเชิงทฤษฏีของการวิจัย
References
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การปฏิรูปการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก www.vcharkarn.com/vcafe/220320 สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560.
คริสติน่า วาสภักดิ์. ปัญหาของการบริหารราชการไทยและแนวทางการแก้ไข. (ออนไลน์).
เข้าถึงได้จาก www.gotoknow.com สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2561.
ดวงเดือน ติยะบุตร. (2556). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในอำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.
เบญจพร กาสีวงศ์. (2556). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.
พรนพ พุกกะพันธ์. (2544). ภาวะผู้นำและการจูงใจ. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์จามจุรีโปรดักท์.
พศิน แตงจวง. (2553). ปัญหาบุคลากรทางการศึกษาและแนวคิดในการพัฒนา(1). ศูนย์วิจัยเพื่อการศึกษาและแรงงาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ยุทธนา พรหมณี. ทักษะการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของผู้นำ : การสั่งการและ
การมอบหมายงาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จากhttps://web.nke.kku.ac.th/
bnnpet//ebook/data3/learning/ lesson4.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2560.
ลลิตา วิมลรักษา. (2556). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในอำเภอบ้านแพง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม.