การพัฒนาระบบและศักยภาพภูมิศาสตร์สารสนเทศ เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ศักยภาพ, ภูมิศาสตร์, การท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบและศักยภาพภูมิสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวใน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อการศึกษาสำรวจแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนของจังหวัดอุตรดิตถ์ 4) เพื่อพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายในเขตพื้นที่ 9 อำเภอ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระภิกษุสงฆ์, เจ้าหน้าที่รัฐ, ผู้ประกอบการ และประชาชน จำนวน 36 รูป/คน และกลุ่มตัวอย่างในการทำกิจกรรมกลุ่มเชิงปฏิบัติการ จำนวน 20 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง เพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการศึกษาวิจัย ดังนี้
- การสำรวจแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พบว่า ภาครัฐควรเร่งพัฒนาส่งเสริมงานด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน และเป็นรูปธรรม โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ให้กับวัด ชุมชน และท้องถิ่นผู้รับผิดชอบ เพื่อสามารถพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุตรดิตถ์ทุกทิศทาง
- การพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวน้อยมาก การศึกษาวิจัยครั้งนี้ จึงเป็นการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และ Application ของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในวิธีพุทธของจังหวัดอุตรดิตถ์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
- การพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ในแต่ละพื้นที่มีความพร้อมที่แตกต่างกัน การพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวด้วยระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศทำให้เกิดการเชื่อมโยงจุดพิกัดท่องเที่ยวที่อย่างชัดเจน ภายใต้ภูมิปัญญาเชิงพุทธบูรณาการเพื่อสร้างความยั่งยืนและเป็นรูปธรรมมากที่สุด
4.การพัฒนาเครือข่ายแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ชุมชนแต่ละแห่งต่างก็มีการพัฒนาเครือข่ายเฉพาะในชุมชนเท่านั้น ไม่ได้รับการสนับสนุน หรือไม่มีการขยายเครือข่ายไปสู่ชุมชนอื่น เนื่องจากปัญหางบประมาณดำเนินการ ส่วนรูปแบบเครือข่าย ลักษณะการสร้างเครือข่าย และการพัฒนาเครือข่ายมีความคล้ายคลึงกัน
References
Juthamart Kongsawat. (2007). Study of guideline for promoting cultural tourism in Nakhon Pathom Province. Bangkok : Silpakorn University.
Narong Pleeruk. (2013). Geographic Information System for Tourism Management In Chonburi Province. KMUTT Research & Development Journal. Volume 36 No.2 ( April - June).
Natthapong Siboonruang et al. (2009). Phycho – Social Correlation of Buddhist Tourism Behavior. Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
Nikom Jarumanee, (2006). Tourism and tourism industry management. Bangkok : Kasetsart University.
Phrakhruwimonsinlapakit (Ruangrith Kaewpiang) et al. (2015). The Study of Forms and Conditions of learn Sources in the Temples of Tourist Attractions in Chiang Rai Province. Chiang Rai : Mahachulachulalongkornrajavidayalaya University Phayao Campus Watphrakaew Class.
Pimpran Sujarinpong. (2006). Guide. Bangkok : Thammasat University.
Sittinan Thongsiri. (2012). The Satisfaction Survey of Tourism – Oriented Conservation Thung – Yang Sub–district, Lablae District, Uttaradit Province. International Thai Tourism Journal Volume 1 (January - June).
Suphet Jirakajornkul. (2008). Learn the Geographic Information System with ARCGIS DSK. Nonthaburi: S R Printing Mass Product.
Sudarat Komthawong. A Development of Cultural Tourism Management Model In Luang Prabang Province Lao PDR.
Tourism Authority of Thailand. (2006). Tourism Industry. Bangkok: Tourism Authority of Thailand.