การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด คล่องแคล่วคำควบกล้ำ เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ พงษ์เขตกรณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

หนังสือส่งเสริมการอ่าน, การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ, ระดับชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด คล่องแคล่วคำควบกล้ำให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และ
3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด คล่องแคล่วคำควบกล้ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 21 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย  โดยใช้เวลาในการทดลองทั้งหมด 8 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด คล่องแคล่วคำควบกล้ำ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน   ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด คล่องแคล่วคำควบกล้ำ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.86/82.37 2) ความสามารถในการอ่านออกสียงคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
จินตนา ใบกาซูยี. (2545). เทคนิคการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
จุฑามาศ ศรีวิลัย. (2549). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว โดยใช้ภาพประกอบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ชูจิต วรเชษฐ์. (2548). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประสงค์ รายณสุข. (2532). การแก้ไขข้อบกพร่องการพูดของนักเรียนประถมสาธิต. รายงานการวิจัยทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2540). วิพากษ์การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพ็ญฤดี รอดโต. (2549). การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ถิ่นนี้ดีกล้วยเล็บมือ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สมาน วัฒนรังษี. (2556). การใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความด้านการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2531). การส่งเสริมการอ่าน. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
อภิเชษฐ์ เทศเล็ก. (2558). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดท่องเที่ยวเมืองสามพราน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-08-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย