มาตรการการจ่ายค่าตอบแทนการบริหารจัดการระบบนิเวศป่าไม้

ผู้แต่ง

  • ธันยากรณ์ ศรเกษตรินทร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

คำสำคัญ:

มาตรการจ่ายค่าตอบแทน, บริหารจัดการ, ระบบนิเวศป่าไม้

บทคัดย่อ

ทรัพยากรป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองความต้องการหรือเป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม การใช้ประโยชน์ในลักษณะนี้ถือเป็นการทำลายความสมดุลและลดทอนขีดความสามารถในการทำหน้าที่ของระบบนิเวศ จนหลายพื้นที่ไม่สามารถฟื้นฟูระบบให้กลับมาได้เช่นเดิมส่งผลต่อความสูญเสียต่อสภาพแวดล้อมและสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมาก จึงสมควรมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการบริการระบบนิเวศ ซึ่งหมายถึง บุคคลหรือกลุ่มคนที่ดูแลรักษาระบบนิเวศควรจะได้รับค่าตอบแทนเพื่อแลกกับประโยชน์ที่ได้รับจากระบบนิเวศป่าไม้ ดังนั้นจึงต้องศึกษามาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศเพื่อนำไปสู่แนวทางในการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบนิเวศป่าไม้จะได้รับการปกป้องและกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บค่าใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศป่าไม้ ในอัตราการชำระค่าตอบแทนอย่างไร รวมถึงมาตรการในการจัดสรรค่าบริการเพื่อบำรุงระบบนิเวศป่าไม้ถึงกรณีที่เมื่อจัดเก็บค่าใช้ประโยชน์ระบบนิเวศป่าไม้แล้วจะต้องนำไปจัดสรรให้กับฝ่ายใดบ้าง ทั้งนี้ต้องคำนึงการปกป้องดูแลระบบนิเวศป่าไม้ พร้อมกับต้องพัฒนาความเป็นอยู่ของชุมชนที่มีส่วนร่วมในการพิทักษ์ป่าไม้และดูแลระบบนิเวศป่าไม้ของประเทศไทยต่อไป

References

Saisunthorn, J. (2016). International Environment Lwas. Bangkok: Winyouchon.
Sathaboot, J. (2006). The Explanation of Civil and Commercial Code and Infringement. Bangkok: Thammasart University Publisher.
______. (1975). Core of Infringement in Civil Code. Bangkok Metropolis Thammasart University Publisher,
Suksawang, S. (2017). Repay the kiness of The Ecology. Bangkok: Catalysing Sustainability for Thailand's Protected Area System.
Leangchareon, P. How to Balance Anurak Thai Forest Care and Financial Management. Online data https://konkao.net/read.php?id=27263
Wongvithit, S. (2010). Civil and Commercial Code about Violation, Management of Affairs without Mandate, and Windfall Bangkok Metropolis: Ramkhamheang University Publisher, 2010.
Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. (2016). Global Warming Learning Set Red Plus and Natural Forest Volume 6 the Payment for Ecosystem Service: Red Plus. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Sinthipong, U. (2016). Laws about Environment Damaging, Civil Punishment, Replacement and Dispute Resolution. Bangkok: Chulalongkorn University Publisher.
Agricultural Planning Department Natural Resource and Environment. Payment for Ecosystem Service: PES. Minute of Meeting of The 3rd South-East Asia Workshop on Payment for Ecosystem Service (PES) - Investment in Natural Capital for Green Growth 12-15 June 2011 at Banda City, Aceh, Indonesia.
Operational Meeting Document about Regional Workshop South East Asia on TEEB and Green Economy: From Theory into Practice. During 29-29 June 2011 at Hanoi City, Vietnam. In https://chm-thai.onep.go.th/chm/Meeting/2011/june28-29/TEEB_GE.pdf (last visited May 2018).
Greiber, Thomas (Ed). (2009). Payments for Ecosystem Services. Legal and Institutional Frameworks. IUCN, Gland, Switzerland.
Wonder, S. (2005). Payments for Environmental Services; Some nuts and bolts. Occasional paper. Indonesia: CIFOR.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-10-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย