ความสัมพันธ์ระหว่างโหราศาสตร์กับการทำรัฐประหารในการเมืองไทย

ผู้แต่ง

  • Kwanruen Panpeerapit คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Pitch Pongsawat คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การทำรัฐประหาร, โหราศาสตร์, คำพยากรณ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างโหราศาสตร์ การทำรัฐประหาร และปัญญาชนทางโหราศาสตร์ (โหรและหมอดู) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการผลิตคำทำนาย คำพยากรณ์ และเผยแพร่ชุดความรู้ความเชื่อทางโหราศาสตร์ โดยมองว่าคำทำนาย คำพยากรณ์มีส่วนในการลดทอนความชอบธรรมของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและในขณะเดียวกันเพิ่มความชอบธรรมให้ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ การอธิบายเหตุการณ์การทำรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง คือ รัฐประหารในพ.ศ. 2549 และพ.ศ. 2557 ที่เกิดขึ้นในการเมืองไทย โดยทั่วไปมุ่งอธิบายหรือมุ่งความสนใจไปที่การประท้วงของกลุ่มชนชั้นกลาง และชนชั้นนำทางการทหาร โดยละเลยหรือมองข้ามประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของโหราศาสตร์ การเคลื่อนไหวของการตีความและการสร้างองค์ความรู้ทางโหราศาสตร์ บทบาทของโหร หมอดูซึ่งเป็นปัญญาชนทางโหราศาสตร์ นอกจากนี้ ในบทความชิ้นนี้ไม่ได้มุ่งหรือให้ความสำคัญเกี่ยวกับความเชื่อหรือไม่เชื่อทางโหราศาสตร์ของเหล่านายทหารชนชั้นนำที่ทำรัฐประหารทั้ง 2 ครั้งที่เกิดขึ้นล่าสุดในประเทศไทย แต่ในบทความชิ้นนี้กลับมุ่งหรือชี้ให้เห็นว่า ชุดคำอธิบาย
องค์ความรู้ และคำทำนาย คำพยากรณ์ทางโหราศาสตร์ บทบาทหน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ไม่ได้หยุดนิ่งหรือไม่ได้มีความสำคัญในทางการเมืองไทยในแง่ของการทำรัฐประหาร แต่ในทางกลับกันชุดคำอธิบาย คำทำนาย  คำพยากรณ์และบทบาทหน้าที่ของปัญญาชนทางโหราศาสตร์ล้วนแต่มีความเคลื่อนไหวในโลกสมัยใหม่ของการเมืองไทย

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). พระอัจฉริยภาพด้านวรรณศิลป์. ลายลักษณ์วรรณศิลป์, 4,8-17.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า. (2526). จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี (พ.ศ. 2310 – 2381) และพระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า. มปพ.
ภิญโญ พงศ์เจริญ. (2543). บทบาทของโหรในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2560). พระมหาชนก : คำสอนจาก "พ่อ". กระทรวงวัฒนธรรม.
สุรพงษ์ ชัยนาม. (2557). ใครเป็นซ้าย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
สวรรค์ ตั้งตรงสิทธิกุล. (2558). การสร้าง “หลักชัย แกนเมือง” เมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ อินท์อโยธยา. ศิลปวัฒนธรรม, 36 (6), 102 – 119.
Chalidaporn S. (1994). Supernatural prophecy in Thai politics: The role of a spiritual cultural element in coup decisions. Ph.D Claremont Graduate School.
Mouffe C. (1979). Hegemony and ideology in Gramsci in Mouffe C, Editor. Gramsci and Marxist theory (page 168 – 204). London: Routledge & Kegan Paul.
Schwarzmantel J. (2015). The Routledge guides to Gramsci’s prison notebooks. United State of America: Graphics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย