การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค จิกซอว์ 2 ร่วมกับบทอ่านจากสื่อออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • Umaporn Buasri silpakorn University

คำสำคัญ:

การอ่านคิดวิเคราะห์, เทคนิคจิกซอว์2, บทอ่านจากสื่อออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental  research) โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1)  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ร่วมกับบทอ่านจากสื่อออนไลน์ และ 2)  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม  รัชมังคลาภิเษก  เขตบางบอน  กรุงเทพมหานคร  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน  1  ห้องเรียน  ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2  มีนักเรียนจำนวน  20 คน  ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple  Random Sampling)  โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ร่วมกับบทอ่านจากสื่อออนไลน์ จำนวน 8 แผน  2) แบบทดสอบวัดผลการอ่านคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ร่วมกับบทอ่านจากสื่อออนไลน์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ร่วมกับบทอ่านจากสื่อออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)

ผลการวิจัยพบว่า  คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์การอ่านคิดวิเคราะห์บทอ่านจากสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ( = 32.30  S.D.=  1.66) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ ( =  16.80  S.D. = 3.16) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด 

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2554 คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
จุฑามาศ กันติ๊บ. (2554). การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้เรื่องการเขียนสะกดคำโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ 2 ร่วมกับเกมการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2532). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์.
ปริญญา ปั้นสุวรรณ์. (2553 ). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 กับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
พรรณิภา พลขาง. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการอ่านจับใจความโดยใช้แผนผังมโนทัศน์ประกอบการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิด การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศศิธร ช่วยสงค์. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและทักษะการคิดพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิกซอว์กับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Kuntip, J. (2011). The Development of the First grade students learning of Thai Spelling skills by blended jigsaw 2 Technique and educational game. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for Degree Master of education. Department of Curriculum and Instruction graduate school Silpakorn University.
Johnson, D.W., and Johnson. (1991). Cooperative and Competition: Theory and Research. Enida, Minn: Interaction Book Company.
Millis, B.J., and Cottle P.G. (1998). Cooperative Learning for Higher Education Faculty, American Council on Education, Series on Higher Education. American: Orxy Press.
Pansuwan, P. (2010). A comparison of Thai literature achievement lf matthayomsuksa 2 students taught by cooperative learning based on jigsaw2 and the traditional method. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for Degree Master of education. Department of Curriculum and Instruction graduate school Silpakorn University.
Slavin, Robert E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research and Practice. Massachusetts: A Simon and Schuster Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย