การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานหลักอิทธิบาท 4 ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถถ่ายโยงความรู้ของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • Preeyada Phattarasatjatum Faculty of Nursing St Theresa International College

คำสำคัญ:

หลักอิทธิบาท 4, ทฤษฎีการสร้างความรู้, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานหลักอิทธิบาท 4 ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถถ่ายโยงความรู้ของนักศึกษาพยาบาล 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานหลักอิทธิบาท 4 ตามทฤษฎี      การสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถถ่ายโยงความรู้ของนักศึกษาพยาบาล มีวิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research: MMR) และใช้แบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embedded Design) กลุ่มตัวอย่าง  คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรม-นรีเวช เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานหลักอิทธิบาท 4 ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ที่มีชื่อว่า “PATCE Model” 2) คู่มือการใช้รูปแบบ “PATCE Model” 3) หน่วยการสอน 4) แผนการจัดการเรียนรู้              5) แบบทดสอบความสามารถถ่ายโยงความรู้ และ 6) แบบบันทึกการสะท้อนย้อนคิด  

               ผลการวิจัย พบว่า

               1) หลังเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนผสมผสานหลักอิทธิบาท 4 ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ นักศึกษาพยาบาลมีความสามารถถ่ายโยงความรู้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2) ผลการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลการใช้รูปแบบนักศึกษาพยาบาลมีความสามารถถ่ายโยง

ความรู้ ดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.92 หลังเรียนโดยใช้รูปแบบ “PATCE  Model”  นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 92.06

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2018

ฉบับ

บท

บทความวิจัย