การนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพืื่อส่งเสริมจริยธรรมของนักเรียนระดับชัั้น มัธยมศึกษาโรงเรียนหนองแค (สรกิจพิทยา) จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • Phra Praphansak Dhĩradhammo Mahachulalongkornrajavidayalaya University
  • Uthai Satiman Suan Dusit University

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อส่งเสริมจริยธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนหนองแค (สรกิจพิทยา) จังหวัดสระบุรี 2) เปรียบเทียบการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันจำแนกตามสถานภาพและปัจจัยของแต่ละบุคคล และศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนหนองแค (สรกิจพิทยา) กลุ่มตัวอย่างประกอบนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อส่งเสริมจริยธรรม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อสอบถามแนวทางในการส่งเสริมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับศีล 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ทดสอบค่าที และค่าเอฟ และ One - Way ANOVA.

ผลการวิจัย  พบว่า

  1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 14 – 15 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้ปกครองรับจ้างทั่วไป รับรู้ศีล 5 จากพระสงฆ์ และเชื่อคำสอนตามพระสงฆ์
  2. กลุ่มตัวอย่าง มีการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อส่งเสริมจริยธรรม 4 ด้าน โดยรวมและแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้ คือ ศีลข้อ 5, จริยธรรม ด้านกาย จิต ปัญญา และสังคม, ศีลข้อที่ 2, ศีลข้อที่ 4, ศีลข้อที่ 1, และศีลข้อที่ 3 โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34, 4.14, 4.03, 3.85, 3.66, และ 3.59, ตามลำดับ
  3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวัน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนอาชีพผู้ปกครองแหล่งการรับรู้เรื่องศีล 5 พื้นฐานทางศาสนา ที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อระดับพฤติกรรม
  4. ปัญหาและอุปสรรคในการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เข้าใจเรื่องศีล 5 ที่ถูกต้อง เห็นว่าศีล 5 ไม่เหมาะกับการประยุคใช้ในชีวิตปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตที่มีการกระตุ้นความอยากความต้องการสูง

แนวทางการส่งเสริมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับศีล 5 คือ องค์การทางพระพุทธศาสนา รัฐ และองค์การทั่วๆ ไป ควรมุ่งสร้างความเข้าใจ และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของศีล 5 ในฐานะที่เป็นคุณธรรมและจริยธรรมพื้นฐานที่สำคัญแห่งความเป็นมนุษย์ อันจะได้นำไปสู่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ สร้างพื้นฐานแห่งวินัย ศีล ที่เกื้อหนุนต่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติและพัฒนาพฤติกรรมและจิตสำนึกที่สูงขึ้นไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05-08-2018

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ