พุทธธรรมกับการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • Phrakhru pariyatrattananuyut Nakhonphanom Buddhist College
  • Uthai Satiman Suan Dusit University

คำสำคัญ:

พุทธธรรม, การลดความเหลื่อมล้ำ, สังคมไทย

บทคัดย่อ

สาเหตุความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยมีหลายสาเหตุ เช่น เรื่องของ “โอกาส” ที่ไม่เท่าเทียมกันในด้านการศึกษา ทุนนิยม และ ปัญหาความยากจน. สำหรับแนวทางแก้ปัญหาและความเหลื่อมล้ำนั้นพบว่า หลักใหญ่ต้องแก้โครงสร้างอำนาจการบริหาร โดยปรับศูนย์กลางโครงสร้างอำนาจใหม่ ลดบทบาทอำนาจทุนและเพิ่มบทบาทประชาชนเข้าไปแทน ที่ผ่านมาโครงสร้างอำนาจส่วนใหญ่ยังรวมศูนย์อยู่ที่รัฐบาลเพียงอย่างเดียว โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนเข้าไปช่วยในการตัดสินใจมากนัก นอกจากนี้ การจะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมลงได้ ควรนำระบบ “สวัสดิการ” ขั้นพื้นฐานมาใช้ เพราะระบบสวัสดิการเป็นการช่วยเหลือคนอย่างแท้จริง ไม่ได้เลือกช่วยเหลือตาม “อาชีพ” อย่างหลายโครงการประชานิยมที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
พระพุทธศาสนาได้เสนอกับหลักปฏิบัติเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยเฉพาะสังคมสงฆ์ไว้ดังนี้ 1) สร้างความเสมอภาคเท่าเทียมกันโดยใช้ปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค 2) ความยุติธรรม 3) ให้สำคัญต่อสังคมส่วนรวม และ 4) ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคมสงฆ์จึงมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ พร้อมทั้งความเสมอภาคทางด้านสิทธิและโอกาสเพื่อช่วยลดความขัดแย้ง และสร้างความสามัคคีได้จริงเพราะไม่ต้องแข่งขันกัน สร้างวัฒนธรรมแห่งสันติสุขเพราะการแบ่งปันผลผลิตหรือปัจจัยสี่ตามความจำเป็น และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นบนฐานของการเคารพ และการให้เกียรติแก่กันและกันแม้ว่าจะไม่รู้จักกันมาก่อนก็ตาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-07-2018

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ