การส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพในชีวิตประจำวันสำหรับผู้เรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
Keywords:
ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ, ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน, การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกAbstract
การส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพในชีวิตประจำวัน เป็นกิจกรรมที่ให้บริการวิชาการแก่ผู้เรียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานและเพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นในชีวิตประจำวันให้แก่ผู้เรียน เพื่อให้สามารถนำความรู้และทักษะภาษาอังกฤษที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพได้ในอนาคต โดยการออกแบบบทเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่ผู้เรียนต้องพบเจอชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยว หรือดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เช่น การแนะนำตัวเองและผู้อื่น การอธิบายเกี่ยวกับตนเองและอาชีพ การบอกวันและเวลา และการสอบถามสถานที่และการบอกทิศทาง เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้เรียนยังได้รับเทคนิคการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผลที่ได้จากการบริการวิชาการพบว่า ผู้เรียนได้เรียนรู้คำศัพท์ สำนวน และโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น และสามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในกิจกรรมของโครงการฯ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความมั่นใจและกล้าสื่อสารภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้น โดยผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันทั้งในการเรียนและการประกอบอาชีพ
References
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนเดือนมกราคม-ธันวาคม 2563. สืบค้น 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=594.
กระทรวงศึกษาธิการ. 2560. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
ณัฐญา หุ่นน้อย. (2561). ปัญหาและความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของพนักงานไทย: กรณีศึกษา บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เยาวลักษณ์ ยิ้มอ่อน. (2557). การใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพของบัณฑิตไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 191-204.
สุภาพร เจริญสุข, ปิยะพัฒน์ ช่วยอินทร์ และตรีศิลป์ เวชโช. (2561). ปัญหาและความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานขายทัวร์ในจังหวัดตรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 256-269.
สุวรรณา ยุทธภิรัตน์, วรรษิษฐา อัครธนวยมนต์ และยุภาภรณ์ ชูสาย. (2560). ปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานส่วนหน้าในธุรกิจโรงแรม จังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
อดิศักดิ์ ย่อมเยาว์. (2561). ปัญหาการใช้ทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลขนาดกลางและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 23(2), 56-66.
Association of Southeast Asian Nations. (2008). The ASEAN charter. Jakarta: ASEAN Secretariat.
Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall, Inc.
EF Education First. (2021). EF EPI EF English Proficiency Index: A ranking of 112 countries and regions by English skills.
EF Education First. (2020). EF EPI EF English Proficiency Index: A ranking of 100 countries and regions by English skills.
EF Education First. (2019). EF EPI EF English Proficiency Index: A ranking of 100 countries and regions by English skills.
Knowles, M. S. (1980). The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy. New York: The Adult Education Company.
Reimann, A. (2001). Motivation for acquiring English as a second language: An investigation
of Chines and German native speakers. Shizuoka: Tokoha Gakuen University.
Vagias, W. M. (2006). Likert-type scale response anchors. Clemson International Institute for
Tourism & Research Development, Department of Parks, Recreation and Tourism
Management. Clemson: Clemson University.