การพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งจากเศษกระจูดเหลือใช้ในชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านไสขนุน ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
Keywords:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development), ถ่านอัดแท่ง (Charcoal Briquettes), เศษกระจูด (Krajood Scraps)Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดจากเศษกระจูดเหลือใช้ในชุมชนบ้านไสขนุน ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งจากเศษกระจูดเหลือใช้ในชุมชนบ้านไสขนุน ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งจากเศษกระจูดเหลือใช้ในชุมชนบ้านไสขนุน ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านไสขนุนเป็นชุมชนที่มีต้นกระจูดขึ้นอยู่จำนวนมาก ชาวบ้านส่วนหนึ่งจึงประกอบอาชีพจักสานกระจูด โดยในปัจจุบันความต้องการผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดมีจำนวนมากขึ้น ทำให้การผลิตงานจักสานกระจูดมีมากขึ้นเช่นกัน และพบว่าในการผลิตงานจักสานกระจูด จะมีเศษกระจูดเหลือใช้จำนวนมาก โดยเศษกระจูดเหล่านี้จะถูกนำไปทิ้งไว้ บางครั้งเกิดการทับถมจนกลายเป็นมลภาวะ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการนำเศษกระจูดไปเผาเพื่อลดปริมาณขยะส่งผลให้เกิดมลพิษทางอากาศ และอาจก่อให้เกิดไฟไหม้ป่าพรุ ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่แนวคิดการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเศษกระจูดเหลือใช้ในชุมชน โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งจากเศษกระจูด ซึ่งเป็นการช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดรายจ่าย และสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน สำหรับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่งจากเศษกระจูดเหลือใช้ ได้แก่ การส่งเสริมการรวมกลุ่มของชาวบ้านในการผลิตถ่านอัดแท่งจากเศษกระจูด การจัดตั้งธนาคารเศษกระจูด และการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ส่วนแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระจูดและเศษกระจูดเหลือใช้ในชุมชน ได้แก่ การต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในลักษณะของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เช่น หลอดกระจูด โคมไฟกระจูด และยากันยุงจากเศษกระจูด เป็นต้น
Abstract
This research aims to 1) study the problem of Krajood scraps in Ban Sai Khanun community, Kreng Sub-district, Cha-Uat District, Nakhon Si Thammarat Province, 2) To study the development of charcoal briquettes from leftover Krajood scraps in Ban Sai Khanun community, Kreng sub-district, Cha-oat district, Nakhon Si Thammarat province, and 3) to study guidelines for the promotion and development of charcoal briquettes from residual Krajood scraps in Ban Sai Khanun community. Kreng Sub-district, Cha-Uat District, Nakhon Si Thammarat Province. This research is a qualitative research focused on action research.
The results showed that: Ban Sai Khanun community is a community with a lot of Krajood trees therefore some of the villagers work as basketry. At present, the demand for Krajood basketry products is increasing. Making the production of Krajood basketry work has increased as well. It was found out that in the production of basketry process. There will be a lot of scraps left over. These scraps will be thrown away. Sometimes it accumulates until it becomes a pollution which can affect health and environment. In addition, Krajood scraps are incinerated in order to reduce the amount of waste but it was resulting in air pollution and may cause a swamp forest fires. For this reason, it brings to the concept of solving the problem with the leftover krajood scraps in the community. By added-value through the development of charcoal briquettes from Krajood scraps. This helps to conserve the environment, reduce expenses and generate income for the villagers in the community. The guidelines for promoting and developing charcoal briquettes from Krajood scraps include; promoting the integration of villagers in the production of charcoal briquettes from Krajood scraps, the establishment of Krajood Waste Bank, and the establishment of a learning center. The guidelines for promoting product development from Krajood and Krajood scraps in the community include; knowledge expansion in order to added value in terms of the creative economy such as Krajood light bulb, Krajood lamp and mosquito repellent made from Krajood scraps, etc.
References
เอกสารอ้างอิง
ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล. (29 สิงหาคม 2562). เรื่องเล่าจากป่าพรุควนเคร็ง ปาพรุ กระจูด คนเคร็ง และไฟป่า. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2563, สืบค้นจากเว็บไซต์ https://www.sarakadee.com/2019/08/29/pa-pru?fbclid=IwAR3K3DTd_nIQuQJYYp4UhTopEv_QbGW2nDGmb2NO_9aRWaJlSJNXhs8FA-U.
ณพัฐอร บัวฉุน. (2563). การพัฒนารูปแบบการผลิตแท่งเชื้อเพลิงจากขยะย่อยสลายได้ผสมกับกากไขมัน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ปีที่ 15(3), 53-61.
ณัฐพล วิชาญ. (2562). การผลิตถ่านอัดแท่งด้วยเศษถ่านที่เหลือจากกระบวนการผลิตกล้วยทอดกรอบ. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, ปีที่ 3(2), 11-22.
เตือนใจ ปิยัง, อเนก สาวะอินทร์ และนฤทธิ์ กล่อมพงษ์. (2561). การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากวัสดุเศษเหลือในสวนปาล์มน้ำมัน บ้านห้วยยูง จังหวัดกระบี่. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, ปีที่ 10(5), 365-374.
รัศมี สิทธิขันแก้ว และคณะ. (2563). การพัฒนาก้อนถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านของโรงไฟฟ้าชีวมวลชุมชนทองแสนขันด้วยแอลกอฮอล์แข็งเพื่อการติดไฟและการเผาไหม้ของก้อนถ่านอัดแท่ง. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, ปีที่ 5(2), 26-35.
วีรวุธ เลพล. (2563). การจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้งจากหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งโดยใช้เตาเผาขนาด 200 ลิตร (แบบตั้ง). วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, ปีที่ 13(2), 46-52.
วัชรานนท์ จุฑาจันทร์. (2563). การศึกษากระบวนการเผาถ่านและสมบัติของถ่านอัดแท่งจากหญ้าแฝก. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, ปีที่ 9(2), 135-146.
Kemmis, S. and McTaggart, R. (1990). The action research planner. Geelong: Deakin University Press.