รูปแบบการจัดการศึกษาให้เด็กไร้สัญชาติในภาคตะวันออกของประเทศไทย

Authors

  • Miss.Supaporn shaosoun วท.อีเทค

Keywords:

รูปแบบการจัดการศึกษา, เด็กไร้สัญชาติ, ภาคตะวันออก

Abstract

          รูปแบบการจัดการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติในภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ได้กำหนดขอบเขตของการศึกษาให้ครอบคลุมถึงการศึกษาสภาพการจัดการศึกษาให้กับบุตรหลานแรงงานข้ามชาติ เด็กที่ไม่มีทะเบียนราษฎรและไม่มีสัญชาติไทยในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรีและฉะเชิงเทรา โดยมีวัตถุประสงค์คือ
          1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การนำนโยบายการจัดการศึกษาแก่เด็กไร้สัญชาติในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยพบว่านโยบายในการจัดการศึกษาของเด็กไร้สัญชาติ แบ่งเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ 1) โครงสร้างองค์กร 2) บุคลากร 3) งบประมาณ 4) สถานที่ และ 5) อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ จุดอ่อน (Weaknesses) เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่าง ๆ ขององค์กร เช่น การขาดเงินทุน นโยบายและทิศทาง การบริการที่ไม่แน่นอน หรือบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ
          2. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดในการนำนโยบายการศึกษาไปปฏิบัติ จากการศึกษา พบว่า ด้านหลักสูตร ไม่มีหลักสูตรเพื่อสนับสนุนด้านวิชาชีพ ที่เด็กสนใจเพื่อนำไปประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา มีปัญหาเรื่องการสื่อสารและความเข้าใจและการปรับตัวในวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การเรียนร่วมกับเด็กไทยทำให้ผู้ปกครองเกิดความรู้สึกแบ่งแยก ด้านทรัพยากร มีจำนวนไม่เพียงพอกับจำนวนเด็กไร้สัญชาติ งบประมาณไม่เพียงพอต่อความจริงที่เกิดขึ้นและล่าช้า ขาดแคลนสื่อผสม- เป็นภาษาไทยเท่านั้น เน้นบรรยายและให้ท่องจำ ขาดแคลนรองเท้า เสื้อผ้า อาหาร คอมพิวเตอร์ หนังสือ ด้านผลลัพธ์  มีปัญหาการสื่อสารและความคิดต่างวัฒนธรรม ปัญหาด้านความเชื่อ เจตคติทางลบและความเข้าใจในนโยบายการจัดการศึกษา ของครูและผู้ปกครอง  เป็นการบังคับให้รักชาติไทย บางโรงเรียนก็ไม่ให้วุฒิบัตร - ปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าประเทศ ปัญหาการให้บริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปัญหาการให้บริการด้านสาธารณสุขมูลฐาน ไม่มีการเปิดรับเด็กไร้สัญชาติทั่วประเทศไทย มีการมาสวมสิทธิ์ บางคนมีชื่อไม่ซ้ำกันและอยู่หลายโรงเรียน เพื่อจะได้เงินอุดหนุนรายหัว
         3. เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการศึกษาที่เหมาะสมของเด็กไร้สัญชาติในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่ารูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติ ควรจัดแบบพหุวิธีการ คือการผสมผสานรูปแบบการจัดทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อเป็นการสร้างโอกาสและทางเลือกทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียน และตอบสนองความต้องการของชุมชนและนักเรียน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายให้ร่วมกันจัดการศึกษาสำหรับเด็กไร้สัญชาติ

References

กฤษฎา บุญราช. (11 กรกฎาคม 2560). สถานการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติในประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก ประชาไทอัพเดท: https://prachatai.com/journal/2017/07/72339

ทวีสิทธิ์ ใจห้าว. (2559). การประเมินผลการจัดการศึกษาแก่ลูกค้าแรงงานต่างชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ:

บุบผา อนันต์สุชาติกุล. (2554). รูปแบบและการจัดการศึกษาแก่ทายาทรุ่นที่สองของผู้ย้ายถิ่นจากประเทศ

ยูนิเซฟ ประเทศไทย, และ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2558-2559. กรุงเทพฯ: ยูนิเซฟ ประเทศไทยและสำนักงานสถิติแห่งชาติ.

รัตนา จักกะพาก. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาส าหรับบุตรแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย. นครปฐม: มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

วรเดช จันทรศร. (2551). การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

ศุภกร เมฆขยาย. (2559). การจัดการศึกษาส าหรับเด็กไร้สัญชาติ. นครปฐม: มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

UNESCO. (November 2011). ยูเนสโกและการศึกษา: ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000212715

UNHCR ฝ่ายความคุ้มครองระหว่างประเทศ. (November 2558). นี่คือบ้านของฉัน. เรียกใช้เมื่อ May 2562 จาก https://www.refworld.org/cgibin/texis/vtx/rwmain/opendocpdf.pdf?reldoc=y& docid=570f55a34

Downloads

Published

2020-08-06