การวิเคราะห์องค์ประกอบเมทาดาตาที่ใช้ในการประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของงานวิจัยต้นฉบับในงานวิจัยเชิงสังเคราะห์ทางการแพทย์
Keywords:
Quality Assessment, Research Synthesis, MetadataAbstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงสังเคราะห์ทางการแพทย์เป็นงานวิจัยที่สร้างความรู้ใหม่โดยการสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยต้นฉบับที่เกี่ยวข้อง ผลของงานวิจัยเชิงสังเคราะห์จะมีความถูกต้องน่าเชื่อถือเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของงานวิจัยต้นฉบับที่นำมาศึกษา ดังนั้นขั้นตอนสำคัญคือ การประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของงานวิจัยที่นำมาศึกษา แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของงานวิจัย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบเมทาดาตาที่ใช้ในการประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของงานวิจัยต้นฉบับเพื่อใช้ในงานวิจัยเชิงสังเคราะห์ทางการแพทย์ ตัวอย่างที่นำมาศึกษาคือ (1)บทความงานวิจัยเชิงสังเคราะห์ที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Pubmed, The Cochrane Library และCINAHL ระหว่างปี ค.ศ.2013-2014 และ(2)งานวิจัยเชิงสังเคราะห์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย ในช่วง พ.ศ.2553-2557 เก็บรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยเชิงสังเคราะห์ตามแบบวิเคราะห์ที่สร้างขึ้น แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า มีงานวิจัยเชิงสังเคราะห์ทางการแพทย์ที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 130 เรื่อง ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ประเมินคุณภาพและความน่าเชื่อถือของงานวิจัยต้นฉบับโดยใช้แบบประเมินคุณภาพ พบแบบประเมินคุณภาพที่ใช้ถึง 13 แบบ มีองค์ประกอบที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งหมด 39 องค์ประกอบ แต่องค์ประกอบที่แบบประเมินส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมี 12 องค์ประกอบ ได้แก่ การจัดสรรอย่างสุ่ม การปกปิดการจัดสรร การปิดบังผู้ร่วมโครงการ การปิดบังผู้ปฏิบัติ การปิดบังผู้ประเมินผล การจัดการตัวอย่างที่ขาดหาย การวิเคราะห์แบบ intention-to-treat ลักษณะเริ่มต้นเหมือนกัน การอธิบายรายละเอียดสิ่งแทรกแซง เกณฑ์ในการคัดเลือกตัวอย่าง การวัดผลถูกต้องและน่าเชื่อถือ และความเหมาะสมของสถิติที่ใช้
Abstract
Medical Research Synthesis is research that creates new knowledge by synthesizing knowledge from the relevant primary research. Results of research synthesis are valid and reliable whether it depends on the quality of primary research. So, the important step is assessment quality and reliability of primary research step. According to the relevant theory, it is the lack of agreement regarding elements to assess the quality of research. So, this research aims to analyze the metadata elements for assessing quality and reliability of primary research in Medical Research Synthesis. The samples were (1) the articles of medical research synthesis were published in Pubmed, The Cochrane Library and CINAHL in 2013-2014 and (2) the reports of medical research synthesis were published in libraries of the universities in Thailand which published in 2010-2014. Data was collected by analytical forms; then analyzed by content analysis.
The results showed that there were 130 medical research syntheses which met the criterions. All of them assessed quality of primary research by using 13 quality assessment tools. Then, it found that there were 39 elements from those tools. However, most tools mainly focused on 12 elements including random allocation, concealed allocation, blind participants, blind clinician, blind