การนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ต้องให้เครดิตแก่เจ้าของผลงาน (Giving Full Credits to the Original Authors When Using Their Works)
Abstract
บทคัดย่อ
การขโมยผลงาน หรือการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) เพิ่งได้รับความสนใจ และความตระหนักในแวดวงวิชาการ และสถาบันการศึกษา เมื่อเกิดการถอนปริญญาดุษฎีบัญทิต ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บทความนี้อธิบายความหมายของการขโมยผลงาน หรือการโจรกรรมทางวิชาการ จำแนกประเภทของการคัดลอกผลงาน ซึ่งมีการแบ่งประเภทแตกต่างหลากหลาย และชี้ให้เห็นโทษของการคัดลอกผลงานที่ทำให้สถาบันการศึกษาต้องกำหนดนโยบาย พร้อมทั้งกำหนดโทษ ที่นักศึกษาต้องได้รับเมื่อคัดลอกผลงาน และทำการทุจริตด้านวิชาการ เนื้อหาสำคัญอื่น ๆ ในบทความประกอบด้วย สารสนเทศที่ไม่ต้องอ้างอิง และสารสนเทศที่ต้องอ้างอิง เครื่องมือ หรือโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงาน เช่น turnitin อักขราวิสุทธิ์ และ Anti-Kobpae รวมทั้งวิธีการนำผลงานของผู้อื่นไปใช้อย่างถูกต้อง ประกอบด้วย การคัดลอกข้อความ การถ่ายข้อความ และการสรุปย่อข้อความของผู้อื่น มาใช้ในงานเขียนอย่างถูกต้อง เพื่อหลีกเลี่ยงการขโมยผลงาน
Abstract
Plagiarism or plagiarizing has recently gained attention and realization among academia and academic institutions when Chulalongkorn University withdrew its Ph. D degree from Supachai LorLowhakarn. This article presents the definition of plagiarism, several types of plagiarism, and the penalty for students who violate the university dishonesty rules and plagiarism policies. In addition, other important topics found in the article included common or world knowledge which does not have to be cited and programs for detecting plagiarism: turnitin, Akkharawisut, and Anti-Kobpae. The article also presents to the readers how to avoid plagiarism and citing by quoting, paraphrasing, and summarizing.