ฐานข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Database of Plants at Chiang Mai University)

Authors

  • Supakarn Rueangwiriyanan
  • Thanapun Kulachan

Keywords:

พรรณไม้, ปักหมุด, แผนที่, ฐานข้อมูลพรรณไม้, แผนที่พรรณไม้, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Plant, Plot, Map, Plants database, Plants Map, Chiang Mai University

Abstract

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการใช้พื้นที่ และการอนุรักษ์พรรณไม้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้ทำการศึกษาพรรณไม้ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ฝั่งสวนสัก จำนวน 165 ชนิด และได้บันทึกข้อมูลของพรรณไม้ พร้อมถ่ายภาพรายละเอียดส่วนต่างๆ ของพรรณไม้ เช่น ใบ ดอก ผล และลำต้น หลังจากนั้นคัดพรรณไม้จำนวน 22 ชนิดที่ควรได้รับการอนุรักษ์ และพรรณไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ มากำหนดจุดที่ตั้งของต้นไม้แต่ละต้นในแผนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ในการปักหมุดแทนพรรณไม้แต่ละชนิด หลังจากนั้นได้ออกแบบ และพัฒนาฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL และ ภาษา PHP และแสดงแผนที่พรรณไม้โดยใช้Google Maps APIs

          จากการสำรวจและจัดเก็บพิกัดของพรรณไม้ พบว่าพรรณไม้ที่มีจำนวนต้นมากที่สุด คือ     ต้นสัก รองลงมา คือ ต้นทองกวาว และต้นโพธิ์ พรรณไม้ที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีจำนวนพรรณไม้ละ 1 ต้น คือ ต้นตะเคียนทอง สมอพิเภก งิ้วแดง มะตูม ขะจาว และ Baobab

          ผลจากการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานระบบ โดยเจ้าหน้าที่กองอาคารสถานที่และสาธารณูปการ สำนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวน 26 คน ผลการประเมินพบว่ามีผู้ใช้ฐานข้อมูลความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

 

Abstract

           The study on the varieties of plants on Chiangmai University campus objectively led to the development of the plants database which could be used for area planning and plant conservation of the university.  One hundred and sixty five kinds of trees found in Suansak ground on the university campus were examined and their examining information was recorded.  Such parts of the trees as their leaves, flowers, fruits and trunks were photographed.  Twenty two kinds of endangered and economic value oriented trees were selected, and metal pins were used to mark their locations on the university map. 

           The database of the trees was then designed and developed using MySQL program and PHP language, and the map of the trees was displayed by Net Bean IDE program.   The analysis of the collected data revealed that the majority of the trees found on Chiangmai University campus were teaks, Bastard teaks, and Bodhi trees.  Only one of the following species was reportedly found on the campus:  Iron Wood, Bellerica, Red Cotton Tree, AegelMarmelas, Indian Elm, and Baobab. 

            The evaluation of the satisfaction toward the database indicated that  26 staffs of the Building and Utilities Office of Chiangmai University were satisfied at the high level with the database. The database users in general  had high level of satisfaction toward the system.     

Downloads

Published

2017-01-12

How to Cite

Rueangwiriyanan, S., & Kulachan, T. (2017). ฐานข้อมูลพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Database of Plants at Chiang Mai University). Journal of Information Science Research and Practice, 34(3). Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/74592

Issue

Section

Research Article