การพัฒนาคุณภาพของการรณรงค์ให้รักการอ่านในสถานศึกษา การศึกษาศักยภาพครูในการรณรงค์ให้รักการอ่านในสถานศึกษา
Keywords:
การรณรงค์ให้รักการอ่าน, การจัดกิจกรรบส่งเสริมการอ่าน, สถานศึกษา, โรงเรียน, คักยภาพครู, reading campaign, reading promotion activities, school, teacher potentialAbstract
บทคัดย่อ
การวิิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของครูในการรณรงค์ให้รักการอ่าน และเพื่อพัฒนาศักยภาพของครูให้มีทักษะในการรณรงค์ให้รักการอ่าน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูจากโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม เก็บรวบรมข้อมูล โดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มทำ Focus group พร้อมการอบรมเชิงปฏิบัติ แล้วคัดเลือกโรงเรียนที่จะติดตามสัมภาษณ์ตามแผนการจัดกิจกรรมที่ครูกำหนดไว้ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุป ตีความและประมวลเป็นความเรียงเชิงบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า ครูมีความสามารถในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในรูปแบบและวิธีการต่างๆ ดังนี้ ในระดับประถมศึกษา ได้แก่ การเล่านิทานในรูปแบบต่างๆ ประกวดการอ่าน เสียงตามสาย กิจกรรมประกวดแข่งขัน ภาษาไทยวันละคำ ถามตอบปัญหาจากพจนานุกรม คาราโอเกะเพื่อการอ่าน ส่วนในระดับมัธยมศึกษา ได้แก่ ประกวดการอ่านร้อยแก้ว ร้อยกรอง จัดนิทรรศการ เสียงตามสาย เล่าเรื่องหนังสือเล่มโปรด สอยดาว (ตอบปัญหาจาก 8 กลุ่มสาระฯ) ทำวารสารโรงเรียน ส่วนปัจจัยสนับสนุนการณรงค์รักการอ่านให้ประสบความสำเร็จนั้นครูให้ลำดับความสำคัญแก่ผู้บริหารเป็นอันดันแรก รองลงมาได้แก่ตัวครูเอง และนักเรียนเป็นอันดับที่สาม ครูได้พัฒนาทัษะในการรณรงค์ให้รักการอ่าน โดยโรงเรียนทั้ง 4 แห่ง สามารถจัดกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ได้ดีขึ้นกว่าเดิมโดยทักษะที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ การจัดบรรยากาศ มุมรักการอ่าน ตะกร้าหนังสือ เทคนิคการเล่านิทาน การเขียนภาพประกอบเรื่องที่เล่า การวางแผนการจัดกิจกรรม และการประชาสัมพันธ์
คำสำคัญ: การรณรงค์ให้รักการอ่าน; การจัดกิจกรรบส่งเสริมการอ่าน; สถานศึกษา; โรงเรียน; คักยภาพครู
Abstract
The purposes of this research were to study the teachers’ ability to reading campaign in institution and develop teachers’ potential to have skills for development of reading activities formats. This research was operational research by launching campaign training development skills for reading activities formats. The sample group was 38 teachers from 19 primary and secondary schools under jurisdiction of Khonkaen, Kalasin and Mahasarakam Educational Areas and 4 selected schools to follow developing skills. The data were collected by using focus group to study teachers’ ability, training on developing skills of planning and promotion and follow up by visiting and interview. The data were analyzed by summary, interpretation, and compile to descriptive essay. The findings concluded that teachers’ potential to reading campaign was in various formats and methods; in primary school such as storytelling, reading competition, one day one word announcement, dictionary quiz, reading karaoke; in secondary school such as, reading competition, one day one word announcement, favorite book talk, subject quiz, producing school magazine. In terms of factors supporting reading campaign, teachers indicated that the first priority was school administrator, second was teachers themselves and the last one was students. Teachers had better skills in reading campaign, 4 selected schools could producing reading activities formats and methods according to assigned planning, they could process more systematic than before. Reading activities formats and methods from training were used as storytelling, book talk, reading competition, and producing innovation. Teachers could gain skills in reading campaign activities as, setting new atmosphere, love reading Connors, book baskets, more storytelling techniques, illustrating by book talk, reading activity planning, and public relation.
Keywords: reading campaign; reading promotion activities; school; teacher potential