การออกแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเสมือนสำหรับการเรียนแบบโครงงานในระดับอุดมศึกษา

Authors

  • กันยารัตน์ ดัดพันธ์ ดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สภาการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
  • กุลธิดา ท้วมสุข รองศาสตราจารย์ ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ท้องเรียนเสมือน, สภาพแวดล้อมในการเรียนแบบออนไลน์, การเรียนแบบโครงงาบ, การเรียนรู้เป็นทีม, Virtual classroom, Online learning environment, Project-based learning, team learning

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเสมือนสำหรับการเรียนแบบโครงงานในระดับอุดมศึกษา การออกแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเสมือนสำหรับการเรียนแบบโครงงาน ตลอดจนนำเสนอรูปแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเสมือนสำหรับการเรียนแบบโครงงานในระดับอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเสมือนสำหรับการเรียนแบบโครงงาน แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกาา แบบวัดคุณลักษณะการเรียนรู้เป็นทีม และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการรู้สารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2550 จำนวน 349 คน วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง และลักษณะความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนแบบโครงงานในห้องเรียนเสมือนจริง สามารถแบ่งได้ 4 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยด้านการเรียนการสอนและการออกแบบการเรียนการสอน ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชนการเรียนของผู้เรียน ปัจจัยด้านพลวัตการเรียนรู้ของกลุ่ม และปัจจัยด้านขนาดของกลุ่ม โดยปัจจัยด้านพลวัตการเรียนรู้ของกลุ่มมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการเรียนรู้เป็นทีม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ : ท้องเรียนเสมือน; สภาพแวดล้อมในการเรียนแบบออนไลน์; การเรียนแบบโครงงาบ, การเรียนรู้เป็นทีม

 

Abstract

The purposes of this study were to identify factors that influenced virtual classroom environment design for project-based learning in higher education, to design a virtual classroom environment for project-based learning in higher education, and to propose a model of virtual classroom environment design for project-based learning in higher education. The research instruments consisted of online questionnaires for expert opinion, questionnaires about the factors affecting the design of virtual classroom environments for project-based learning, a team learning test, and pre-tests and post-tests of information literacy. The subjects in this study were 349 students enrolled in the Information Literacy program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University during the second semester of academic year 2007. They were chosen by simple random sampling. The data was analyzed using percentage, mean, standard deviation, T-test, ANOVA, factor analysis, and multiple regressions

The research results revealed that the learning achievement factors affecting the design of virtual classroom environments for project-based learning in higher education fall into four categories: pedagogy and instructional design factors, environment and community of learner factors group dynamic and peer impact factors, and group sizes. Group dynamic and peer impact factors was significantly positive correlated with learning achievement and skills.

Keyword: Virtual classroom; Online learning environment; Project-based learning, team learning

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

ดัดพันธ์ ก., เลิศชโลฬาร เ., & ท้วมสุข ก. (2013). การออกแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเสมือนสำหรับการเรียนแบบโครงงานในระดับอุดมศึกษา. Journal of Information Science Research and Practice, 25(1-3), 1–14. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/6699

Issue

Section

Research Article