ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ของครูต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1

Authors

  • รังสินี อุทัยวัฒนา นักศึกษาหลักสูตรศิสปศาสตรมหาบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มทาวิทยารัยขอนแก่น
  • มาลี กาบมาลา รองศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรศิสปศารตรมหาบัณฑิต กลุ่มสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ของครูต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำนวน 322 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยระดับบุคคล ด้านคุณลักษณะพบว่า ครูต้นแบบเป็นบุคคลรอบรู้จากการนำความรู้ที่ค้นคว้ามาปรับปรุงให้เกิดความรู้เชิงบูรณาการใหม่ๆ โดยใช้รูปแบบวิธีคิดจากการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย การสร้างและสารวิสัยทัศน์ครูต้นแบบมีกำหนดแนวทางและทางเลือกให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเรียนรู้ร่วมกับคณะครูเป็นทีมในการแลกเปลี่ยนความรู้การจัดการการเรียนการสอน การคิดเชิงระบบ ครูต้นแบบเตรียมแผนการสอนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ด้านพฤติกรรมสารสนเทศครูต้นแบบมีวัตถุประสงค์การใช้สารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน โดยมีรูปแบบการใช้สารสนเทศ หนังสือ โสตทัศนวัสดุ และอินเทอร์เน็ตมากที่สุด และแหล่งสารสนเทศที่ใช้มากที่สุด ได้แ่ก แหล่งบุคคล ส่วนด้านวิธีการเรียนรู้ ครูต้นแบบใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง สำหรับปัจจัยด้านองค์กร ผู้บริหารมีระบบกำหนดแผนและติดตามประเมินผลที่ชัดเจน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน การจัดโครงสร้างองค์กรในการติดต่อประสานงานแบบแนวนอน มีวัฒนธรรมและบรรยากาศองค์กรที่มีความไว้วางใจ ด้านแรงจูงใจ พบว่า ครูต้นแบบต้องการพัฒนาความไม่รู้และไม่เข้าใจของนักเรียน และโรงเรียนจัดแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อให้ครูต้นแบบเกิดการเรียนรู้

 

Abstract

The objective of this survey research was to study factor which enhance the learning of the master teacher of Buriram Educational Service Area Office 1. The sample of this research was 322 master teachers, then analyzed in percentage. According to the study result, the personal factor regarding characteristic revealed that the master teacher were able to apply existed knowledge, which derived from research theory, to new integrated knowledge through various measurement and assessment. To set up vision, the master teacher determined approaches or solutions that match problem condition. They also worked with teacher group to exchange teaching and learning management knowledge and create learning activities, which contributed to short term and long term teaching plan preparation. Factor regarding information behavior showed that the use of information among the master teacher resulted in high level. They utilized 3 majors instructional media, comprised of books, audio-visual material, and internet. For information resource, the master teacher used human as major sources; in other word, they accessed information by self-learning. For the organization factor, the study revealed that the administrators had clear planning system and monitoring and evaluation process. According to environmental analysis, it was found that the school had horizontal organizational structure and reliable organizational culture and atmosphere. เท terms of motivation, the master teacher expected to improve student’s comprehension. Therefore, the school must provide learning sources in order to support the master teacher.

Downloads

How to Cite

อุทัยวัฒนา ร., & กาบมาลา ม. (2013). ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ของครูต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1. Journal of Information Science Research and Practice, 27(1-3), 51–59. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/6645

Issue

Section

Research Article