ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตของกลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยขอนแก่นตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
Abstract
บทคัดย่องานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ของกลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปีงบประมาณ 2554 กำหนดกรอบแนวคิดการศึกษาโดยใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลโดยส่งแบบสอบถามถึงผู้ใช้บัณฑิตรวม 35 คน แบ่งเป็น ระดับปริญญาตรี 27 คน ปริญญาโท 4 คน และปริญญาเอก 4 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืน 21 ชุด (ร้อยละ 60.00) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อผลการเรียนรู้ของบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ ในระดับมาก (Mean = 4.01, ก.พ.ร. Mean = 4.38) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดคือ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม (Mean = 4.28, ก.พ.ร. Mean = 5.00) ความพึงพอใจต่อผลการเรียนรู้ของบัณฑิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก (Mean = 3.90, ก.พ.ร. Mean = 5.00) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดคือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Mean = 4.00, ก.พ.ร. Mean = 5.00) ส่วนความพึงพอใจต่อผลการเรียนรู้ของบัณฑิตระดับปริญญาเอก สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.21, ก.พ.ร. Mean = 5.00) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุดคือ ด้านความรู้ (Mean = 4.33, ก.พ.ร. Mean = 5.0000) เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียด พบว่าทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เป็นจุดอ่อนของบัณฑิตทั้งสามระดับ
Downloads
Download data is not yet available.
How to Cite
เควียเซ่น ก. (2013). ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตของกลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยขอนแก่นตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. Journal of Information Science Research and Practice, 30(2). Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/6430
Issue
Section
Research Article