โครงสร้างการรู้สารสนเทศของนักเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทย
Keywords:
โครงสร้างการรู้สารสนเทศ, การรู้สารสนเทศ, นักเรียนระดับประถมศึกษา, The standard structure of the information literacy, Information literacy, Primary school studentsAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาโครงสร้างการรู้สารสนเทศของนักเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนระดับประถมศึกษาที่สุ่มมาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) จำานวน 400 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ระหว่าง 20 พฤษภาคม ถึง 15 กรกฎาคม 2551 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างการรู้สารสนเทศของนักเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทยประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 18 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ด้านการเข้าถึงสารสนเทศ จำานวน 7 องค์ประกอบย่อย ด้านการประเมินสารสนเทศ จำานวน 6 องค์ประกอบย่อย และด้านการนำาสารสนเทศไปใช้ จำานวน 5 องค์ประกอบย่อย ซึ่งโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำาไปเป็นกรอบสำาหรับใช้วัดการรู้สารสนเทศของนักเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทย
คำสำคัญ: โครงสร้างการรู้สารสนเทศ; การรู้สารสนเทศ; นักเรียนระดับประถมศึกษา
Abstract
The objective of this research was to study the information literacy structure of the primary schoolstudents in Thailand. The study sample consisted of 400 primary school students who were selectedby multi-stage random sampling. The research tool was a guideline for in-depth interview. They wereinterviewed from 20 May to 15 July 2008. The data were analyzed by factor analysis. The study revealedthat the information literacy structure for the primary school students in Thailand had 3 main components and18 subcomponents. It was consisted of 1) accessing the information with 7 subcomponents. 2) evaluatingthe information with 6 subcomponents and 3) using the information with 5 subcomponents. The researchfindings led to the proposed guidelines for developing and evaluating the information literacy of the primaryschool students in Thailand.
Keywords: The standard structure of the information literacy; Information literacy; Primary school students