การจัดการสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพของคณะวิชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
Keywords:
การประกันคุณภาพ, การจัดการสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร, Quality assurance, Information management, Kasetsart University ChalermprakietSakonnakhon Province Campus.Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและศึกษาปัญหาของการจัดการสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพของคณะวิชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาในเรื่องสภาพปัจจุบันของการจัดการสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพ ด้านการจัดการงานประกันคุณภาพของคณะวิชา พบว่า คณะวิชามีคณะกรรมการงานประกันคุณภาพ และมีจำนวนคณะกรรมการระหว่าง 9-24 คนบุคลากรส่วนใหญ่เคยได้รับการฝึกอบรมด้านประกันคุณภาพ และส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานด้านประกันคุณภาพเป็นเวลา 1 - 2 ปี ด้านความครบถ้วนของข้อมูลสารสนเทศแต่ละดัชนี พบว่า ส่วนใหญ่คณะวิชาจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศได้ครบถ้วนทุกดัชนี คณะวิชาจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ ในระดับมากในองค์ประกอบที่ 1 และองค์ประกอบที่ 6ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ มีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศในระดับปานกลาง ปัญหาการจัดการสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพของคณะวิชา พบว่า ทั้ง 3 คณะวิชามีปัญหาในระดับมากในด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล และมีปัญหาระดับปานกลางในด้านการเก็บรักษาข้อมูล ด้านการประมวลผลข้อมูล และด้านการนำเสนอข้อมูล
คำสำคัญ: การประกันคุณภาพ; การจัดการสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร
Abstract
This research aimed at studying the present condition and analyzing the problems of the informationmanagement for the University Quality Assurance (QA) among faculties at Kasetsart University, ChalermprakiatSakon Nakhon Province Campus. In terms of Faculty Quality Assurance Management, the result of theresearch presented that each faculty above had its own QA committee with the members from 9-24 people,most of whom had passed the QA training course with 1-2 years experience on QA. For the datacompleteness of each QA indicator, the result showed that most faculties were able to completely collect the data for each QA indicator. As for the amount of data collected, the result showed that the collecteddata for Criteria1 and Criteria6 were at the high level, while the collected ones for the rest indicators wereat the medium level. However, the problem in collecting data was in a high level while the storage ofdata, processing of data, and presentation of data were placed at the average level.
Keywords: Quality assurance; Information management; Kasetsart University ChalermprakietSakonnakhon Province Campus.