การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนและการสร้างความรู้ที่มีต่อ ความสามารถด้านนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มอุตสาหกรรมการสกัดน

Authors

  • สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ รองศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรบัญชี สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ดิชิตชัย เมตตาริกานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำหลักสูตรการจัดการสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Keywords:

การจัดการความรู้, การจัดการความรู้กับนวัตกรรม, การจัดการความรู้กับอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม, Knowledge Management, Knowledge Management and Innovation, Knowledge Managementand Crude Palm Oil Refining

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างความรู้จากผู้ประกอบการหรือผู้จัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่ อมกลุ่ มอุตสาหกรรมการสกัดน้ำมันปาล์มในเขตภาคใต้ตอนบน ตลอดจนความสามารถด้านนวัตกรรม และเพื่อนำเสนอรูปแบบและแนวทางในการใช้แนวคิดของการจัดการความรู้ที่ เกี่ ยวกับกิจกรรมการแลกเปลี่ ยนความรู้และการสร้างความรู้ในเขตภาคใต้ตอนบน กลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการผลิตน้ำมันปาล์มทั้งสิ้น 12 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาจากแบบสัมภาษณ์และการจัดประชุมระดมปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุปผลวิจัยได้ดังนี้ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ63.92 มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี/สูงกว่า ร้อยละ 65.98 มีระยะเวลาในการทำงานมากกว่า 10 ปีร้อยละ 37.11 เป็นหัวหน้างาน/แผนก ร้อยละ 57.73 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความรู้การสร้างความรู้และความสามารถ ด้านนวัตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญในเรื่องของการส่งเสริมและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้ ในองค์กรค่อนข้างน้อยเนื่องจากลักษณะของบุคลากรยังขาดความสามารถในเชิงการให้ในประเด็นของการสร้างความรู้ในองค์กร พบว่า การสร้างความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นในองค์กร สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ยังเกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งสาเหตุอาจเนื่องมาจากลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลผลิตหลักของธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความต้องการค่อนข้างน้อย และในประเด็นของความสามารถทางนวัตกรรม พบว่า การสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในองค์กร สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ ยังเกิดขึ้นน้อยมาก โดยนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมักเกิดจากการชี้นำของผู้บริหารเป็นหลักและเป็นนวัตกรรมกระบวนการมากที่สุด

คำสำคัญ: การจัดการความรู้; การจัดการความรู้กับนวัตกรรม; การจัดการความรู้กับอุตสาหกรรมสกัดน้ำมันปาล์ม

 

Abstract

The purpose of the research is to study the innovation capability level of knowledge sharing and knowledgecreation (/developing) from SMEs entrepreneurs. In particular, the industrial of crude palm oil refining innorth southern provinces were conducted. The research aims to study the influences of research factors onknowledge sharing and creation to innovation capability. The model and guideline of knowledge managementare also presented in order to develop the potential of innovation capability. The samples were selected which12 entrepreneurs in crude palm oil industrial were chosen. The tools for data collection were questionnairesand structural interview. The data were analyzed by Percentage, Means and Standard Deviation.

The research were resulted as follows; most respondents were man for 63.92%, education levelat graduate or upper for 65.98%, work experience which is more than 10 years for 37.11% and position at workleader for 57.73%. In general, it was found that their attitude on knowledge sharing, knowledge creation andinnovation capability was very positive. In addition, most entrepreneurs paid less attention for supportingthe knowledge sharing in their businesses. The reason is that their staffs are considered as lack of wellanalysis on knowledge creation. Additionally, their main production is not much changed which gives lessmotivation to the entrepreneurs for creating new knowledge. In the aspect of innovation capability, it is foundthat innovation capability is also low. The innovation is mainly appeared from direction of team leaders.

Keywords: Knowledge Management; Knowledge Management and Innovation; Knowledge Managementand Crude Palm Oil Refining

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ส., & เมตตาริกานนท์ ด. (2013). การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนและการสร้างความรู้ที่มีต่อ ความสามารถด้านนวัตกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กลุ่มอุตสาหกรรมการสกัดน. Journal of Information Science Research and Practice, 29(1), 1–12. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/6116

Issue

Section

Research Article