สื่อการสอนรายวิชาต้นแบบระบบ e-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะ การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Authors

  • ศักดา จันทร์ประเสริฐ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กุลธิดา ท้วมสุข รองศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการจัดการสารสนเทศและการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เด่นพงษ์ สุดภักดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

สื่อการสอนอีเลิร์นนิง, การรู้สารสนเทศ, การพัฒนาสมรรถนะ, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, e-Learning Courseware, Information Literacy, Competency Development, Undergraduate Students

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการสอนรายวิชาต้นแบบระบบ e-Learning เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยอาศัยแนวคิดและทฤษฎีประกอบด้วยการสังเคราะห์มาตรฐานการรู้สารสนเทศระดับอุดมศึกษา ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง กระบวนการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียนการสอนตามแนวคิด ADDIE Model และการพัฒนาสื่อการสอนรายวิชาด้วยระบบบริหารกิจกรรมการเรียน LAMS วิธีวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการเป็น 5 ขั้นตอนคือ (1) การวิเคราะห์และพัฒนาแผนการสอนรายวิชาการรู้สารสนเทศระดับปริญญาตรีที่เหมาะสมสำหรับการจัดการเรียนการสอนในระบบe-Learning ใช้วิธีวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ (2) การออกแบบการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และระบบบริหารกิจกรรมการเรียน LAMS (3) การพัฒนาสื่อการสอนรายวิชาสำหรับการจัดการเรียนการสอนในระบบ e-Learning โดยใช้ระบบ LAMS (4) การทดสอบและประเมินสื่อการสอน โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้นปีที่ 1 ที่เรียนรายวิชา 000 130 ทักษะการรู้สารสนเทศ อาจารย์ผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญระบบ e-Learning และ (5) การพัฒนาสื่อการสอนรายวิชาต้นแบบ ที่สมบูรณ์ทั้งรายวิชา

ผลการวิจัยสรุปไดดั้งนี้ 1) ได้แผนการสอนรายวิชาการรู้สารสนเทศในระดับปริญญาตรี ที่เหมาะสำหรับการจัดการเรียนการสอนในระบบ e-Learning ที่ผ่านการตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมโดยอาจารย์ผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความเหมาะสมสูงกว่า 0.8 ทุกๆหน่วยการเรียน แผนการสอนประกอบด้วย สมรรถนะการรู้สารสนเทศที่ประสงค์ หัวข้อเนื้อหาและสาระสำคัญของเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง บทบาทของผู้เรียน บทบาทของผู้สอน และวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 2) ได้สื่อการสอนต้นแบบสำหรับการจัดการเรียนการสอนในระบบ e-Learning เพื่อนำไปพัฒนาสมรรถนะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ระบบบริหารกิจกรรมการเรียน LAMS ซึ่งผ่านการทดสอบและประเมินผลโดยนักศึกษาผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญระบบ e-Learning ทั้งในด้านเนื้อหารายวิชา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสื่อหลายมิติ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการจัดการรายวิชา และด้านความสามารถของระบบ โดยผลการประเมินส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีและดีมาก สถาบันการศึกษาที่จะนำสื่อการสอนต้นแบบนี้ไปใช้จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่นโยบายของสถาบันในการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษา โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ e-Learning ความพร้อมและความรู้ความสามารถของอาจารย์และนักศึกษาในการใชสื้่อการสอนในระบบ e-Learning และแหล่ง ความรูที้่มีความสอดคล้องกับเนื้อหาสาระที่สอนเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเกิดการพัฒนาสมรรถนะตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา

คำสำคัญ: สื่อการสอนอีเลิร์นนิง; การรู้สารสนเทศ; การพัฒนาสมรรถนะ; นักศึกษาระดับปริญญาตรี

 

Abstract

This research aimed to develop an e-Learning courseware prototype for information literacydevelopment of undergraduate students. The research based on the following concepts and theories:information literacy competency standards for higher education, theory of constructivist, ADDIE model forcourseware development, and instructional design using the learning activity management system (LAMS).The research method used was a research and development approach which comprised of 5 steps: 1) theanalysis and development of course plan for information literacy instruction which appropriated for e-Learningsystem, by using documentation research and survey method. 2) Instruction design based on the theoryof constructivist and LAMS’s tools. 3) Development of e-Learning courseware by using LAMS’s software.4) Testing and evaluation of the courseware, done by Khon Kaen University’s first year students of class000 130 Information Literacy Skills, course teaching staff, and e-Learning experts. 5) Development of thecompleted courseware for the information literacy course.

The research results provided the following products : 1) Course plan for information literacyinstruction at undergraduate level which evaluated by the experts as appropriated for e-Learning system(IOC > 0.8). The details of course plan included information literacy competency expected from the courselearning, topics and synopsis of the course contents, learning and teaching activities based on the theoryof constructivist, student’s roles, teacher’s roles, and the measurement and evaluation of the learningoutcomes. 2) An e-learning courseware prototype for information literacy development of undergraduatestudents which has been developed by using LAMS software and tested and evaluated by the students,teaching staff, and e-Learning experts. The courseware evaluation was rated at good and very good levelsin all items in the following aspects : course contents, learning activities, multimedia elements, measurementand evaluation of the learning outcomes, course management, and the system performances. It issuggested that implementation of this courseware prototype in an institution is based on the following factors:policy of institution on the development of information literacy competency of its students, infrastructure of information technology for supporting e-Learning instruction, the readiness of teaching staff and studentsand their skills in using e-Learning for learning and teachning, and the availability of learning resources inaccordance with the course contents which will enhance the students’ learning and then enable to developthe students’ competencies according to the course objectives.

Keywords: e-Learning Courseware; Information Literacy; Competency Development; Undergraduate Students

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

จันทร์ประเสริฐ ศ., ท้วมสุข ก., & สุดภักดี เ. (2013). สื่อการสอนรายวิชาต้นแบบระบบ e-Learning เพื่อพัฒนาสมรรถนะ การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. Journal of Information Science Research and Practice, 29(2), 9–27. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/6098

Issue

Section

Research Article