การพัฒนาระบบไอซีทีเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ รายวิชาการวิจัยทางการศึกษา
Keywords:
การจัดการความรู้, ระบบสนับสนุนการจัดการความรู้, การวิจัยทางการศึกษา, Knowledge Management, Facilitating system for knowledge management, Educational ResearchAbstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อสร้าง ทดสอบ และทดลองใช้ต้นแบบระบบไอซีทีเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้รายวิชาการวิจัยทางการศึกษา 2) เพื่อนำเสนอระบบไอซีทีเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้รายวิชาการวิจัยทางการศึกษาที่เหมาะสมกับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2554 จำนวน 56 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นการออกแบบและพัฒนาต้นแบบ 2) การตรวจสอบคุณภาพและความเหมาะสมของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 3) ขั้นการทดลองใช้โดยนักศึกษาทดลองใช้เป็นเวลา 3 เดือน และทดสอบความพึงพอใจในการใช้งาน 4) ขั้นการปรับปรุงสมรรถนะของระบบโดยการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักศึกษาที่ทดลองใช้เพื่อประเมินคุณภาพของระบบอีกครั้งในประเด็นต่อไปนี้ (1) ความรู้และการนำไปใช้งาน (2) พฤติกรรมและการตอบสนอง (3) การมีส่วนร่วม (4) ผลการใช้งาน และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การทดลองใช้ต้นแบบระบบไอซีทีเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้รายวิชาการวิจัยทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในต้นแบบที่พัฒนาขึ้น โดยเห็นว่าเป็นช่องทางที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้ไปกับเทคโนโลยีและมีการใช้งานที่ไม่ยุ่งยากนัก 2) ระบบไอซีทีเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้รายวิชาการวิจัยทางการศึกษาที่เหมาะสมกับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีโครงสร้างที่ประกอบด้วย เว็บไซต์รายวิชา ฐานข้อมูลอาจารย์และนักศึกษา บันทึกความรู้ แบบประเมินความรู้ กระดานสนทนา คลังความรู้ ดาวน์โหลดเอกสาร และภาพกิจกรรมต่างๆ โดยกระบวนการของระบบไอซีทีเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้รายวิชาการวิจัยทางการศึกษาแบ่งตามขั้นตอนของการจัดการความรู้ดังนี้ (1) การกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้ (2) การแสวงหาความรู้ (3) การสร้างความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (4) การจัดเก็บและสืบค้นความรู้ และ (5) การถ่ายโอนและใช้ประโยชน์จากความรู้ นอกจากนี้ ต้นแบบที่ได้จะช่วยให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีทักษะในการเรียนรู้ด้านการวิจัยทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : การจัดการความรู้; ระบบสนับสนุนการจัดการความรู้; การวิจัยทางการศึกษา
Abstract
The objectives of this research project were: 1) to build, test and use a prototype of ICT system forfacilitating knowledge management model for an educational research course; 2) to propose an ICT systemfor facilitating knowledge management model in an educational research course appropriated for graduatestudents, North Eastern University. The population studied by purposive sampling were the students ofMaster of Education in Educational Administration, Graduate School, North Eastern University, for a totalof 56 graduate students in 2011. The research methodology was as follows: 1) design and development;2) system quality assessment and evaluated by five experts; 3) tested by students over a three month periodand research about satisfaction; 4) efficiency improved by graduate students using interviewed techniquesabout: (1) knowledge and utilization; (2) behavior and responses; (3) collaboration; (4) outcome and(5) problems and suggestion after using the prototype.
The research results were as follows: 1) the subjects satisfied with the ICT system for facilitatingknowledge management in educational research because it was practical and not complicated and2) the structure of the ICT system consisted of a web site, lecturer and students database, knowledgeevaluation model, knowledge memorandum, web board, knowledge asset, document download and gallery.The process of ICT system for facilitating knowledge management in educational research course werewhich based on knowledge management processes: (1) knowledge identification; (2) knowledge acquisition;(3) knowledge creation and exchange; (4) knowledge storage and retrieval; and (5) knowledge transferand utilization. Moreover, the prototype system could support the graduate students learning of educationaladministration and improves their skill performances.
Keywords: Knowledge Management; Facilitating system for knowledge management; Educational Research