รูปแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่า สำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (Six Sigma Quality Information Models for Teaching in Chiang Rai Rajabhat University)

Authors

  • วิชิต นางแล นักศึกษา หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ดร.วจี ชูกิตติกุล อาจารย์ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • ดร.จารึก ชูกิตติกุล

Keywords:

รูปแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่า, การเรียนการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย, Six Sigma Guality, Information Models, Teaching and Leaning, Chiang Rai Rajabhat University

Abstract

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและออกแบบกระบวนการพัฒนา สารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่า ตามขั้นตอนดีเมอิกสำหรับนำไปใช้ในการวิเคราะห์และ ออกแบบสารสนเทศคุณภาพสนับสนุนการเรียนการสอน 2) วิเคราะห์และออกแบบ สารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าสนับสนุนกระบวนการเรียน การสอนในมหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย และ 3) ศึกษาการยอมรับสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่า สำหรับ สนับสนุนกระบวนการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วย สารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าสนับสนุนการเรียนการสอนใน
     มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย แบบประเมินความเที่ยงของเนื้อหาและแบบประเมินการ ยอมรับสารสนเทศคุณภาพกลุ่มตัวอย่างจำนวน 920 คน เลือกจากผู้บริหารแบบเจาะจง และเลือกโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิได้แก่ นักวิชาการผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือนักศึกษาและ พนักงานปฏิบัติการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การทดสอบความเชื่อมั่นของ การวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของโฮลสตี และการทดสอบค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความเที่ยงเชิงเนื้อหาของสารสนเทศ คุณภาพซิกซ์ซิกม่า ตามขั้นตอน ดีเมอิกที่สร้างขึ้นได้ค่าความเชื่อมั่นที่1.00 2) สารสนเทศ คุณภาพซิกซ์ซิกม่า สำหรับสนับสนุนการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีจำนวนทั้งสิ้น 33 ฉบับ แบ่งเป็นสำหรับผู้บริหารระดับสูงจำนวน 9 ฉบับ ผู้บริหารระดับ กลางจำนวน 7 ฉบับ นักวิชาการ จำนวน 4 ฉบับ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือนักศึกษาจำนวน 6 ฉบับ และพนักงานปฏิบัติการจำนวน 7 ฉบับโดยสารสนเทศทุกฉบับมีคุณลักษณะประเด็น ด้านการยอมรับ 4 ด้านคือ 1.ความชัดเจน 2.ตรงความต้องการของผู้ใช้ 3.ความน่าใช้ และ 4.ความมีประโยชน์ 3) สารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าสำหรับสนับสนุนการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้รับการยอมรับทั้ง 33 ฉบับในระดับมาก โดยมีผู้ยอมรับ มากกว่าผู้ไม่ยอมรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: รูปแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่า; การเรียนการสอน; มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงราย

Abstract

     The objectives of this research were to: 1) design the development process of Six Sigma quality information models derived DMAIC steps for analysis and designing quality information to support teaching and learning, 2) analyze and design the Six Sigma quality information for supporting teaching and learning in Chiang Rai Rajabhat University, and 3) study the acceptance of the Six Sigma quality information models for teaching and learning in Chiang Rai Rajabhat University.
The research tools included the Six Sigma quality information models for supporting teaching and learning in Chiang Rai Rajabhat University, the evaluation form for content validity, and the acceptance evaluation form of the Six Sigma quality information models.
      The research results were summarized as follows:
      1. The reliability of the content validity of the Six Sigma quality information models was derived from the DMAIC steps that were conducted according to Holsti methodology was found at 1.00
     2. The Six Sigma quality information to support for teaching and learning in Chiang Rai Rajabhat consisted of 33 models divided into 9 models for top executives, 7 models for middle level executives, 4 models for academics, 6 models for Stakeholder or students, and 7 models for operational staffs. The information in every issue featured acceptance all models wear 1) clear, 2) met users’ needs 3) fi t for usage, and 4) useful.
     3. All 33 Six Sigma quality information to support for teaching and learning in Chiang Rai Rajabhat were accepted at a high level in which a number of acceptors were higher than a number of deniers with a statistical signifi cance at .05 level.

Keywords: Six Sigma Guality; Information Models: Teaching and Leaning; Chiang Rai Rajabhat University

Downloads

Published

2015-01-05

How to Cite

นางแล ว., ชูกิตติกุล ด., & ชูกิตติกุล ด. (2015). รูปแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่า สำหรับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย (Six Sigma Quality Information Models for Teaching in Chiang Rai Rajabhat University). Journal of Information Science Research and Practice, 32(1), 84–119. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jiskku/article/view/28062

Issue

Section

Research Article