ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่าและผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยส่วนใหญ่จะวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานกับองค์กรขนาดใหญ่ แต่ยังมีประเด็นที่น่าสนใจในการนำมาวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานกับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรซึ่งเป็นองค์กรขนาดเล็ก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่ คุณค่าที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรในประเทศไทย โดยใช้การเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประธานหรือผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรดีเด่นและติดอันดับ top 10 ในการบริหารจัดการของประเทศไทย มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 27 กลุ่ม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่าส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานและประสิทธิภาพการแข่งขันกับสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร อาจเนื่องมาจากเป็นองค์กรขนาดเล็กจึงไม่ได้มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่า แต่มีเพียงด้านการบริการที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากเป็นกิจกรรมที่ต้องเข้าถึงลูกค้า จึงเป็นกิจกรรมที่ควรใส่ใจ
Article Details
ข้อความและความคิดเห็นที่แสดงในบทความ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ และคณะผู้จัดทำแต่อย่างใด
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิเทศศึกษา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิเทศศึกษา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิเทศศึกษา ก่อนเท่านั้น
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2556). สารสนเทศน่ารู้ทางการเงิน. ค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563, จาก https://www.cad.go.th/more_ebook. php?EGID=19&filename=ebook
ขวัญฤทัย เทพพิทักษ์. (2559). การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการ ประกอบธุรกิจส่งออกผลไม้แปรรูปของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
จีราวัฒน์ มันทรา. (2563). การศึกษาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการ: กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผ้าไหมใน อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 16(3), 527-543.
ประสพชัย พสุนนท์, และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2556). ประสิทธิภาพและกุญแจแห่งความสำเร็จในการดำเนินการสหกรณ์การเกษตร: การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 6(1), 610-628.
เรวัตร ก่อวงศ์กาญจน์. (2562). วันสหกรณ์นักเรียน ปลูกฝังแนวคิดเพื่อสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคลเป็นกำลังพัฒนาสังคมไทย. ค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.77kaoded.com/news/ rewatr/553266
วศิน เหลี่ยมปรีชา. (2557). ประสิทธิภาพการดำเนินงานกับบทบาทกระบวนการจัดการความรู้. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 34(2), 81-107.
ศิริมาศ จินศิริวานิชย์. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การแข่งขันกิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่าและผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ. (2560). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและปัจจัยที่มีผล ต่อประสิทธิภาพของสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนบนของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์, อดิลล่า พงศ์ยี่หล่า, และพาชิตชนัต ศิริพานิช. (2559). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการบริหารกิจกรรมพื้นฐานของห่วงโซ่คุณค่าและความสามารถเชิงนวัตกรรมกับผลการดําเนินงานของกิจการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) กลุ่มเอในประเทศไทย. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 51-62.
Fawcett, S. E., Osterhaus, P., Magnan, G. M., Brau, J. C., & McCarter, M. W. (2007). Information sharing and supply chain performance: the role of connectivity and willingness. Supply Chain Management: An International Journal, 12(5), 358-368.
Porter, M. E. (1985). Competitive advantage: creating and sustaining superior performance. New York: The Free Press.
Rajaguru, R., & Matanda, M. J. (2019). Role of compatibility and supply chain process integration in facilitating supply chain capabilities and organizational performance. Supply Chain Management: An International Journal, 24(2), 301-316.
Yu, W., Jacobs, M. A., Salisbury, W. D., & Enns, H. (2013). The effects of supply chain integration on customer satisfaction and financial performance: An organizational learning perspective. International Journal of Production Economics, 146(1), 346-358.