การศึกษาแนวทางการจัดทำหลักสูตรภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ภูมิภาคภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการทำหลักสูตรภาษาจีนระดับภูมิภาคภาคใต้ตามบริบทของประเทศไทยภายใต้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรการทดสอบวัดระดับภาษาจีน HSK และหลักสูตรภาษาจีนสำหรับนานาชาติสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (HANBAN)
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการทำหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ภูมิภาคภาคใต้ ต้องยึดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สาระการเรียนรู้ควรสอดคล้องตามหลักสูตรการทดสอบวัดระดับภาษาจีน HSK และหลักสูตรภาษาจีนสำหรับนานาชาติสำนักงานส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนนานาชาติ (HANBAN) และมีการจัดทำกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเอื้อให้แก่โรงเรียนได้นำไปใช้อย่างสะดวกในการจัดกิจกรรมหรือการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนเป็นวิชาเลือกเสรีหรือวิชาเพิ่มเติม
Article Details
ข้อความและความคิดเห็นที่แสดงในบทความ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ และคณะผู้จัดทำแต่อย่างใด
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิเทศศึกษา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิเทศศึกษา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิเทศศึกษา ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย ปี 2561. เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/old/more_news.php?cid=529&filename=index.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศปี 2561 (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด). เข้าถึงได้จาก https://www.mots.go.th/old/more_news.php?cid=531&filename=index.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กาญจนา บุญส่ง. (2551). เอกสารคำสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (อัดสำเนา).
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิชัย แก้วบุตร, และอธิปัตย์ นิตย์นรา. (2559). สภาพและแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในโรงเรียนรัฐบาล. ใน การประชุมชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 8: 2559 “การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอย่างยั่งยืนสู่โลกาภิวัตน์” (น.70). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
พิชัย แก้วบุตร. (2562). นโยบายทางภาษาในการเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมจีนผ่านการทดสอบวัดระดับภาษาจีน HSK .วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 14(2), 307-325.
พิชัย แก้วบุตร. (2563). การศึกษาแนวทางการจัดทำหลักสูตรภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ภูมิภาคภาคใต้ (รายงานการวิจัย). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี.
พิชัย แก้วบุตร. (2563). ความสนใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียนวิชาภาษาจีน: กรณีศึกษานักศึกษาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 12(23), (อยู่ระหว่างการตีพิมพ์)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สกสค.
สำนักงานราชบัณฑิตสภา. (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายภาษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561-2564. เข้าถึงได้จาก http://www.royin.go.th/wp-content/uploads/2018/11/.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. Newyork: Harcout Brace.