การใช้โปรแกรมรู้จำเสียงพูดในการฝึกออกเสียง ภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษา Siri ใน iPad

Main Article Content

สรัญญา พัฒนสิน
Maurice Blackford

บทคัดย่อ

โปรแกรมรู้จำเสียงพูดได้ถูกนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการสอนการออก เสียงภาษาอังกฤษได้ จึงได้มีผู้คิดพัฒนาโปรแกรมรู้จำเสียงพูดเพื่อวัตถุประสงค์ นี้โดยเฉพาะ แต่เนื่องจากโปรแกรมรู้จำเสียงพูดเพื่อการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ยังไม่แพร่หลาย ทั้งในห้องเรียนและการศึกษาด้วยตนเอง การศึกษานี้ทำการ ทดสอบความเป็นไปได้ที่จะใช้โปรแกรมรู้จำเสียงพูด Siri ใน iPad เป็นเครื่องมือ ในการฝึกออกเสียงด้วยเหตุผลว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของการ ศึกษาครั้งนี้เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ APPLE เป็นจำนวนมาก การศึกษานี้ทำการ เปรียบเทียบความแม่นยำในการรู้จำเสียงพูดของโปรแกรมเมื่อทดสอบโดยเจ้าของ ภาษาและผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา คลังข้อมูลที่ใช้แบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับคำ ระดับวลี และระดับประโยค ใช้วิธี Chi-square วัดความแตกต่างระหว่าง ความถูกต้องของการรู้จำเสียงพูดของเจ้าของภาษาและผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ผลการศึกษาพบว่า SiRi สามารถรู้จำเสียงพูดของเจ้าของภาษาได้ดีกว่าผู้ที่ ไม่ใช่เจ้าของภาษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในระดับคำ (P<0.05) ระดับวลี (P<0.05) และระดับประโยค ผลการวิเคราะห์ชี้ว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมี นัยสำคัญในการทดสอบทั้งสามครั้งด้วยผู้พูดคนเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า โปรแกรมรู้จำเสียงพูดมีประสิทธิภาพด้อยที่สุดในการรู้จำเสียงพูดระดับประโยค โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับระดับคำและวลี 49.7% ในเจ้าของภาษา (p<0.001) และ 16% ในผู้พูดที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา (p<0.001) ผลการศึกษาชี้ว่าการออกเสียงที่ถูกต้องมีความจำเป็นในการทำงานของโปรแกรม ข้อสรุปของการศึกษาคือโปรแกรมรู้จำเสียงพูดของผลิตภัณฑ์ APPLE มีประสิทธิภาพ ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการฝึกการออกเสียงด้วยตนเองของผู้เรียนภาษาได้

Article Details

How to Cite
พัฒนสิน ส., & Blackford, M. (2015). การใช้โปรแกรมรู้จำเสียงพูดในการฝึกออกเสียง ภาษาอังกฤษ: กรณีศึกษา Siri ใน iPad. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5(1), 60–76. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/245779
บท
บทความวิจัย

References

Chandra et al. (2011). Automatic Speech Recognition: Architecture,
Methodologies and Challenges-A Review. International Journal
of Advance Research in Computer Science. 2(6), 326-331.
Fromkin et al. (2007). Introduction to Language. Thomson Higher
Education. Boston.
Geller, T. (2012). Talking to Machines. Communications of the ACM.
55(4), 14-16.
Junqua, J. (1999). Speech recognition and teaching apparatus able
to rapidly adapt to difficult speech of children and foreign
speakers. U.S. Patent No. 6, 253,181. 26 Jun. 2001.
Kamkhien, A. (2010). Thai Learners’ English Pronunciation
Competence: Lesson Learned from Word Stress Assignment.
Journal of Language Teaching and Research. 1(6), 757-764.
Kanokpermpoon, M. (2007). Thai and English Consonantal Sounds:
A Problem or a Potential for EFL Learning?. ABAC Journal. 27(1),
57-66.
Kawai,G. and Hirose, K. (2000). Teaching the pronunciation of
Japanese double-mora phonemes using speech recognition
technology. Speech Communication. pp.131-143.
Pongprairat, R. (2011). A Study of Interlanguage English Intonation in
Thai Learners, and the Degree of Intelligibility and Comprehen
sibility in Native Speakers’ Judgments. (Doctoral dissertation,
English as an International Program). Chulalongkorn University.
Bangkok.
Witt, S. and Young, S. (1998). Performance Measures for Phone-
Level Pronunciation Teaching in CALL. Proc. of the Workshop on
Speech Technology in Language Learning, pp. 99-102,
Marholmen, Sweden.