Legal Problems on the Compensation and Remedy for Assistance given to the Casualty Victims Caused by The Disaster

Main Article Content

Wonwisa Siricharoenchanya

Abstract

บทความฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับปัญหาข้อกฎหมาย การชดเชยเยียวยาสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันเกิดจากกรณีภัยพิบัติในประเด็น 1) ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย จะเรียกร้องให้มีการชดเชยเยียวยาตามหลักกฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายความรับผิดทางละเมิด กฎหมายประกันภัย และกฎหมายกองทุน ได้แค่ไหน เพียงใด 2) หน้าที่ในการจัดการภัยพิบัติของรัฐส่งผลให้รัฐจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายหรือไม่ อย่าไร และ 3) การให้ความช่วยเหลือชดเชยเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติของรัฐควรเป็นอย่างไร โดยประเทศที่ศึกษาประกอบด้วยประเทศไทยและต่างประเทศ อันได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา


จากการศึกษาในประเด็นต่าง ๆ พบว่า การนำหลักความรับผิดทางละเมิดมาปรับใช้กับการเยียวยาความเสียหายอันเกิดจากภัยพิบัติอาจไม่สอดคล้องกับลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้น เพราะส่วนใหญ่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมักเกิดขึ้นโดยไม่อาจคาดหมายหรือป้องกันได้ กล่าวคือเป็นเหตุสุดวิสัย ที่ไม่อาจจะกล่าวโทษใครได้ สำหรับการประกันภัยพิบัตินั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ ซึ่งให้ความคุ้มครองบางประเภทภัยพิบัติเท่านั้น และอัตราเบี้ยประกันภัยค่อนข้างสูง รวมทั้งบริษัทประกันภัยอาจ ไม่มีความสามารถในการรับประกันภัยกรณีภัยพิบัติขนาดใหญ่ นอกจากนี้ การชดเชยเยียวยาโดยกองทุนนั้นเป็นการให้ความช่วยเหลือจากแหล่งเงินงบประมาณ ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณของประเทศ ตลอดจนความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติโดยส่วนมากแล้วจึงเป็นการให้ความช่วยเหลือโดยรัฐ ซึ่งประชาชนผู้ประสบภัยพิบัติอาจได้รับความช่วยเหลือแตกต่างกัน แม้จะเป็นภัยพิบัติที่มีลักษณะข้อเท็จจริงเดียวกัน หรือเป็นผู้ประสบภัยในเหตุการณ์เดียวกันก็ตาม


บทความฉบับนี้ จึงขอเสนอแนะให้มีกฎหมายการชดเชยเยียวยาสำหรับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันเกิดจากกรณีภัยพิบัติโดยเฉพาะ เพื่อการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เป็นธรรมและเหมาะสม โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนขึ้นในกฎหมาย ดังเช่นสาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา

Article Details

How to Cite
Siricharoenchanya, W. (2021). Legal Problems on the Compensation and Remedy for Assistance given to the Casualty Victims Caused by The Disaster. Journal of International Studies, Prince of Songkla University, 11(1), 1–25. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/244894
Section
Research Articles
Author Biography

Wonwisa Siricharoenchanya, Faculty of Law Sripatum University, Thailand

Master’s student of Master of Laws, Business Law

References

กฎหมายไทย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544

พระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558

พระราชกำหนดการส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562

ระเบียบคณะกรรมการบริการกองทุนช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการใช้จ่ายเงินกองทุนช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ พ.ศ. 2558

หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556

กฎหมายต่างประเทศ

The Act of 13 July 1982

The Act of 25 July 1990

The Act of 9 September 1986

The Act of 6 July 1990

The Act of 30 July 2003

The Robert T. Stafford Disaster Relief and Emergency Assistance Act of 1974 (Stafford Act)

The Terrorism Risk Insurance Act of 2002

The Restatement (Second) of Torts

หนังสือ / วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ / รายงานการวิจัย

กรกมล พุทธซ้อน. (2559). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยพิบัติ. นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.

คณะกรรมการค้นคว้าและวิชาการ. (2532). คู่มือการประกันภัย. สมาคมประกันวินาศภัย. กรุงเทพฯ: วิคเตอรี่เพาเวอร์พอยท์.

จิตติ ติงศภัทิย์. (2530). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยประกันภัย. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิ๊ด เศรษฐบุตร. (2556). หลักกฎหมายแพ่งลักษณะละเมิด. พิมพ์ครั้งที่ 8. โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2556). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยประกันภัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

ภาคภูมิ ทองชัยภูมิ. (2523). ปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. นิติศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อังคณาวดี ปิ่นแก้ว. (2559). การเยียวยาความเสียหายอันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ : ศึกษากฎหมายฝรั่งเศส.กรุงเทพฯ : โครงการวิจัย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หนังสือต่างประเทศ

Bernhard A. Koch (ed.). (2004). Terrorism, Tort Law and Insurance A Comparative Survey. Austria: Springer-Verlag Wien New York.

GAO (February 2005). Catastrophe Risk, U.S. and European Approaches to Insure Natural Catastrophe and Terrorism Risks. GAO-05-199 United Government Accountability Office. Washington, D.C.

Galand – Carval, S. (2002). ‘French’ in B. A. Koch and H. Kozoil. University of Tort Law: Strict Liability. Kluwer Law International. The Hague.

M. Faure and T. Hartlief. (2006). Financial Compensation for Victims of Catastrophes, A Comparative Legal Approach. Springer Wien. New York. Vienna.

Véronique Bruggeman. (2010). Compensating Catastrophe Victims A comparative Law and Economics Approach. Volume 12. Kluwer Law International BV. The Netherlands.