การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการคุกคามทางเพศและความไม่เท่าเทียมทางเพศในการทำงานของผู้หญิงในสังคมเกาหลีใต้

Main Article Content

ปุญชิดา แสนพิทักษ์
ธัญวรัตน์ เชาวลิต
ยองซู คิม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการคุกคามทางเพศและความไม่เท่าเทียมทางเพศในการทำงานของผู้หญิงในสังคมเกาหลีใต้ 2) ศึกษาพฤติกรรมและรูปแบบการคุมคามทางเพศ งานวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหาผ่านซีรีย์เกาหลี เรื่อง Something in the Rain Because This is My First Fife และ Witch’s Court ในปี พ.ศ 2560-2561


ผลการศึกษาพบว่า ซีรีย์เกาหลีสะท้อนถึงปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมการคุกคามทางเพศและความไม่เท่าเทียมทางเพศในการทำงานของผู้หญิง ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยทางธรรมชาติและชีวภาพ ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม และปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ในส่วนของพฤติกรรมและรูปแบบการคุกคามทางเพศ งานวิจัยนี้พบว่ามีรูปแบบการคุกคามทางเพศที่ปรากฏ 3 ประเภท ได้แก่ การคุกคามทางเพศทางวาจา การคุกคามทางเพศโดยการแสดงท่าทาง และการคุกคามทางเพศโดยการสัมผัสร่างกาย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธัญวรัตน์ เชาวลิต, คณะวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

นักศึกษาปริญญาตรี

References

ชาตรี ลีศิริวิทย์. (2551). ภาพเสนอของผู้ชายในนิตยสารปลุกใจเสือป่าช่วงปี พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2527: กรณีศึกษา นิตยสารแมนและนิตยสารหนุ่มสาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). วิทยาลัยสหวิทยาการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

โชติกา รุ่งชัยมงคล. (2548). การนำเสนอภาพผู้หญิงและทัศนคติเรื่องเพศในหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คแนวก้าวหน้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ทิพย์วรรณ แซ่ปัง (2552). พฤติกรรมการคุกคามทางเพศในสถานที่ทำงาน : กรณีศึกษาพยาบาลโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ธีรพงศ์ เสรีสำราญ. (2555). ภาพสะท้อนของสตรีเกาหลีจากการสร้างตัวละครนำหญิงในภาพยนตร์ของ คิม คี ด็อค. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธีรพัฒน์ อังศุชวาล. (2554). ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในการบริหารรัฐกิจ. บทความคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วารสารจุลมิติ, พ.ย.-ธ.ค., 66-75.

ปุญชิดา แสนพิทักษ์ (กรกฎาคม 2561). การเปลี่ยนแปลงของสถานภาพสตรีในประวัติศาสตร์เกาหลีในสมัยโชซอน. การประชุมวิชาการนานาชาติเกาหลี- ไทยศึกษา ครั้งที่ 5: เกาหลี-ไทยศึกษาในอาเซียน (น. 377-394). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุไลพร ชลวิไล. (2545). ตัวตนในเรื่องเล่า: การต่อรองทางอัตลักษณ์ของหญิงรักหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

อรพรรณ จันทร์เทา. (2555). บทบาทองค์กรเพื่อสิทธิสตรีเกาหลีกับการยกสถานภาพทางด้านเศรษฐกิจของเกาหลี. การประชุมวิชาการระดับชาติเกาหลี ศึกษาครั้งที่ 2 (น. 86-95), คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

Hong Yong-ki & Kook-Haeng Cho. (2543). "직장내 성희롱에 대한영향요인에 관한 연구", 한국비서학회지, 제9권, 제2호, 219-234.

Lee, S. K., Song, J. E., & Kim, S. (2011). Experience and perception of sexual harassment during the clinical practice of Korean nursing students. Asian Nursing Research, 5(3), 170-176.

The Korea Bizwire. (2019). 82 pct of Victims of Sexual Harassment in the Workplace Suffer in Silence. Retrieved June 1, 2020, from