การศึกษาความเสี่ยงทางการท่องเที่ยวของเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงทางการท่องเที่ยว และเสนอแนะแนวทางการตอบสนองความเสี่ยงทางการท่องเที่ยวของเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมร่วมกันของการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจพื้นที่ ประชุมกลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวนรวม 70 คน ผลการวิจัยพบว่า


1) ประเด็นความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงมาก ได้แก่ ความเสี่ยงการจราจรในเมืองพัทยาและความเสี่ยงความปลอดภัยริมชายทะเลและกิจกรรมทางน้ำ


2) ประเด็นความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ความเสี่ยงอาชญากรรมในสถานบันเทิง และความเสี่ยงสิ่งก่อสร้างติดทะเล และความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ


3)  ประเด็นความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงระดับปานกลาง ได้แก่ ความเสี่ยงความสะอาด และความเสี่ยงการค้าขาย


นอกจากนี้วิธีการตอบสนองต่อความเสี่ยงทางการท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี แบ่งออกเป็น 4 วิธี ได้แก่ การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Avoidance) การลดความเสี่ยง (Reduction) การหาผู้ร่วมรับความเสี่ยง/การร่วมจัดการ (Sharing) และการยอมรับความเสี่ยง (Acceptance)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

“นายกเมืองพัทยา เดินหน้าแก้ 3 ปัญหาเร่งด่วน,” (2 ตุลาคม 2561). สยามรัฐ. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2563, จาก https://siamrath.co.th/n/49126

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์, และประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต, 29(2), 31-48.

พรทิพา ปิยะกมลรัตน์. (2556). สภาพแวดล้อมกับการพัฒนา: กรณีศึกษาย่านชายหาดพัทยาใต้. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพ์มาดา วิชาศิลป์. (2555). การศึกษาการรับรู้ด้านความเสี่ยงและการป้องกันความเสี่ยง ขณะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติประเภทแบกเป้. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 7(2), 15-26.

เมืองพัทยา. (2558). แผนพัฒนาเมืองพัทยา 3 ปี 2559-2561. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2563, จาก https://bit.ly/2FJX1dA

วารานัย ยุวนะเตมีย์, และอัศวิน แสงพิกุล. (2559). การรับรู้ความเสี่ยงของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 249-259.

ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล, และชยพล ฉัตรชัยเดช. (ม.ป.ป.) การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกโดยทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม. กรุงเทพฯ: อาระยาการพิมพ์ แอนด์ ซิลค์สกรีน.

สุชาติ เซี่ยงฉิน, ธารี วารีสงัด, ภาวิณี บุณยโสภณ, จิตติมา สุวรัตน์, และ พัชรินทร์ เหสกุล. (2560). การศึกษาวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาเมืองพัทยาสู่ประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 27(2), 379−391.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร องค์การมหาชน. (2562). คู่มือการบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน).

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดชลบุรี. (2561). นักท่องเที่ยวจีนวูบ! เมืองพัทยาตื่นเรียกประชุมหน่วยงานเร่งหามาตรการแก้ไข เน้น “ไม่ตาย ไม่เจ็บ ไม่หาย” ระบุสถิติการเสียชีวิตทางน้ำสูงจนน่าวิตกต้องบูรณาการในการสร้างความอุ่นใจและแก้ไขอย่างจริงจัง. ค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2563, จาก http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TNSOC6111080010101

สํานักยุทธศาสตร์และงบประมาณ. (2561). การเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมโครงการแผนพัฒนาเมืองพัทยา 4 ปี (พ.ศ. 2561 - 2564) ครั้งที่ 3 พ.ศ.2561. ค้นเมื่อ 17 กันยายน 2563, จาก https://www.pattaya.go.th/pattaya-4-year/

สำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ. (2562). แผนพัฒนาเมืองพัทยา (พ.ศ. 2561 - 2565). ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2563, จาก https://bit.ly/2B3M1W5

World Tourism Organization. (1996). Tourist Safety and Security: Practical Measures for Destinations. Madrid: World Tourism Organization.