แนวทางการสอนพหุนัยคำว่า 잡다 /ʧaptʼa/ จาก ‘คลังข้อมูลภาษาเกาหลี โครงการเซจง ศตวรรษที่ 21’
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหาความถี่ของแต่ละความหมายของคำว่า잡다/ʧaptʼa/ โดยวิเคราะห์จากคลังข้อมูลภาษาเกาหลีโครงการเซจง ศตวรรษที่ 21 (21세기 세종 계획) และ 2) เพื่อจัดลำดับการสอนพหุนัยของคำว่า 잡다/ʧaptʼa/ ที่เหมาะสมกับผู้เรียนคนไทยที่เรียนภาษาเกาหลีเป็นภาษาต่างประเทศ ข้อมูลที่นำมาใช้ในการศึกษามาจากแหล่งข้อมูลคลังข้อมูล
ภาษาเกาหลีโครงการเซจง ศตวรรษที่ 21 (21세기 세종 계획) ซึ่งเป็นคลังข้อมูลภาษาของสถาบันภาษาเกาหลีแห่งชาติ (국립국어원) ซึ่งมีประโยค ที่มีความหมายของคำว่า 잡다/ʧaptʼa/ ปรากฏอยู่ จำนวนทั้งหมด 3,387 ประโยค ผู้วิจัยได้นำมาทำการวิเคราะห์หาความหมาย และทำข้อมูลเชิงสถิติด้วยการหาความถี่ของการถูกใช้ความหมายของคำศัพท์คำว่า 잡다/ʧaptʼa/ และนำผลการวิเคราะห์ที่ได้มาวิเคราะห์ ร่วมกับข้อมูลการจัดอันดับการสอนความหมาย 잡다/ʧaptʼa/ ที่ได้จากตำราเรียนภาษาเกาหลี (เนติมา บูรพาศิริวัฒน์, 2561) และพจนานุกรมความถี่ของการใช้ความหมายของซอซังคยู (서상규, 2014) เพื่อจัดลำดับการสอนของความหมายของคำว่า 잡다/ʧaptʼa/ ใหม่ให้เหมาะสมกับผู้เรียนทั้ง 3 ระดับ ผลจากการวิเคราะห์ ผู้วิจัยได้จัดกลุ่มความหมายใหม่ โดยรวบความหมายที่มีกลุ่มความหมายเดียวกันให้เหลือ 15 ความหมาย ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ และจัดลำดับของการสอนแต่ละความหมาย ได้ดังนี้ คือ ความหมายที่ใช้บ่อย และจำเป็นต่อผู้เรียนระดับต้น มี 3 ความหมาย ระดับกลาง มี 5 ความหมาย และระดับสูง มี 7 ความหมาย
Article Details
ข้อความและความคิดเห็นที่แสดงในบทความ เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่ความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ และคณะผู้จัดทำแต่อย่างใด
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิเทศศึกษา ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิเทศศึกษา หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิเทศศึกษา ก่อนเท่านั้น
References
คยอง อึน ปาร์ค. (2554). ปรากฏการณ์พหุนัยของคำว่า 가다 /gada/ ในภาษาเกาหลี เปรียบเทียบกับคำว่า ไป ในภาษาไทย : การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์ปริชาน(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เนติมา บูรพาศิริวัฒน์. (2561).พหุนัยคำว่า 잡다/ʧaptʼa/ ในภาษาเกาหลี ที่ปรากฏในตำราเรียน. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์, 8 (1), 227-248.
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2560). ม.อ.ปัตตานี ชูประเด็นนำเกาหลีศึกษาเข้าสู่ระบบอาชีวศึกษารองรับยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0. ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2560 จาก http://www.psu.ac.th/th/node/8075
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
김은영. (2014). 태국인 한국어 학습자의 어휘 오류 연구. 경희대학교 교육대학원 석사학위논문.
김진희(2007), 동사 ‘잡다’의 다의 구조 연구. 경북대학교 교육대학원 석사학위논문.
강현화 외. (2013). 한국어 교육 어휘 내용 개발 2단계. 국립국어원.
낙콩 사시완. (2013). 한국어교육을 위한 한국어와 태국어의 다의어 대조 연구: 동사 ‘먹다’를 중심으로. 석사학위논문, 경희대학교, 서울.
문금현. (2006). 한국어 어휘 교육을 위한 다의어 학습 방안 :동사 '보다' 를 중심으로, 이중언어학, 30, 143-177.
서상규 외. (2006). 외국인을 위한 한국어 학습 사전. 서울: 신원프라임.
서상규. (2014). 한국어 기본어휘 의미 빈도 사전. 서울: 한국문화사.
연세대학교언어정보개발연구원. (2008). 연세한국어사전.두산동.
이유경. (2011). 한국어 어휘 의미 교육 등급 선정을 위한 기초 연구-동사를 중심으로, 이중언어학, 4