คลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ขณะมองคำภาษาไทยและเสียงดิจิทัลที่เราอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น

Main Article Content

นิภาพร อางควนิช
รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี ชัดแช้ม
ดร.พีร วงศ์อุปราช
ดร.กนก พานทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้น ตามเพศและบุคลิกภาพ ลแะศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพศกับบุคลิกภาพต่อคลื่นไฟฟ้าสมอง ขณะมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2560 อายุ 20-24 ปี จำนวน 80 คน เครื่องมือวิจัย คือ กิจกรรมการมองคำภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้นมาตรวัดอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลและเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้า รุ่น Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ขณะมองคำภาษาไทยและฟังเสียงคลื่นดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านการมีอิทธิพล 1) คลื่นไฟฟ้าสมอง P100 และ N100 บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอยของเพศหญิงมีการทำงานมากขึ้นและตอบสนองต่อสิ่งเร้าเร็วกว่าเพศชาย 2) คลื่นไฟฟ้าสมอง P100 บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอยของกลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบกลางๆ มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเร็วกว่ากลุ่มที่มีบุคลิกภาพแบบเปิด และ 3) คลื่นไฟฟ้า P100 บริเวณเปลือกสมองส่วนท้ายทอยของเพศหญิงที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ ขณะที่คลื่นไฟฟ้าสมอง N100 เพศชายที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเร็วกว่ากลุ่มอื่นๆ 

Article Details

How to Cite
อางควนิช น., ชัดแช้ม เ., วงศ์อุปราช พ., & พานทอง ก. (2019). คลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์ขณะมองคำภาษาไทยและเสียงดิจิทัลที่เราอารมณ์ด้านการมีอิทธิพลในผู้ใหญ่ตอนต้น. วารสารวิเทศศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 9(1), 29–58. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jis/article/view/204938
บท
บทความวิจัย

References

จันทร์เพ็ญ งามพรม, เสรี ชัดแช้ม และพีร วงศ์อุปราช. (2560). การพัฒนาระบบคลังคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 15(2), 162-178.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2551). การแปลแบบทดสอบบุคลิกภาพ NEO-FFI เป็นภาษาไทย. เชียงใหม่: ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนปพน ภูสุวรรณ. (2561). การพัฒนาระบบคลังเสียงดิจิทัลด้านอารมณ์ความรู้สึกในบริบทของสังคมไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา, วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิชัย มงคล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย และวรวรรณ จุฑา. (2552). รายงานการวิจัย การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Version 2007): กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Bear, M. F., Connors, B. W., & Paradiso, M. A. (2016). Neuroscience: exploring the brain (4th ed.). Hong Kong: Wolters Kluwer.

Brown, L., Sherbenou, R. J. & Johnsen, S. K. (2010). Test of nonverbal intelligence (4th ed). Austin, TX: PRO-ED.

Costa, P. T., & McCrae, R. R. (2010). NEOTM Personality Inventory-3 (NEOTM PI-3). Florida: Psychological Assessment Resources Inc.

Edmonds, W. A. & Kennedy, T. D. (2017). An applied reference guide to research designs: quantitative, qualitative, and mixed methods. California: Sage.

Filkowskia, M. M., Olsend, R. M., Dudaa, B., Wangera, T. J. & Sabatinellia, D. (2017). Sex differences in emotional perception: Meta analysis of divergent activation. NeuroImage, 147, 925–933.

Han, S.H., Gao, X.C., Humphreys, G.W. & Ge, J.Q. (2008). Neural processing of threat cues in social environments. Human Brain Mapping, 29(8), 945–957.

Handy, T. C. (2005). Event-Related Potentials: A Methods Handbook. New York: The Bradford books.

Kempton, M. J. et al. (2009). The effects of gender and comt val158met polymorphism on fearful facial affect recognition: an fMRI study. International Journal of Neuropsychopharmacology, 12(3), 371–381.

Lotrakul, M., Sumrithe, S., & Saipanish, R. (2008). Reliability and validity of the Thai version of the PHQ-9. BMC Psychiatry, 8, 46.

Lucas, R. E., & Baird, B. M. (2004). Extraversion and emotional reactivity. Journal of Personality and Social Psychology, 86(3), 473-485.

Luck, S. J. (2014). An introduction to the event-related potential technique (2nd ed.). Cambridge, MA: MIT Press.

Oldfield, R. C. (1971). The assessment and analysis of handedness: The Edinburgh inventory. Neuropsychologia, 9(1), 97-113. Retrieved from http://gade.psy.ku.k/Readings/Oldfield1971.pdf

Russell, J. A., & Mehrabian, A. (1977). Evidence for a three-factor theory of emotions. Journal of research in Personality, 11(3), 273-294.

Vuoskoski, J. K. & Eerola, T. (2011). The role of mood and personality in the perception of emotions represented by music. Cortex, 47(9), 1099-1106.

Whittle, S., Yucel, M., Yap, B. H. M., & Allen, B. N. (2011). Sex differences in the neural correlates of emotion: Evidence from neuroimaging. Biological Psychology, 87(3), 319-333.